เคมีในสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำ เป็นสถานที่พักผ่อนและออกกำลังกายที่่หลาย ๆ คนชื่นชอบ การรักษาสภาพน้ำในสระว่ายน้ำให้้สะอาด เพื่อให้้ปลอดภัยต่อผู้้ใช้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง หลาย ๆ คนอาจคิดว่าในสระว่ายน้ำมีีคลอรีนเป็นสารที่่ใช้กำจัดเชื้อโรคในน้ำ แต่่ความจริงแล้้วสารที่่อยู่่ในน้ำของสระว่ายน้ำคือ กรดไฮโปคลอรัส (HOCl) ซึ่งสามารถกำจัดแบคทีเรียและตะไคร่น้ำได้้ และเป็นสารชนิดเดียวกับที่่ใช้้ในการทำน้ำดื่มให้้สะอาด สาร HOCl ที่่อยู่่ในสระว่ายน้ำ ไม่่ได้้เกิดจากการใส่่ HOCl ลงไปโดยตรง แต่่เกิดจากการใส่่สารตั้งต้นที่่ทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วได้้ผลิตภัณฑ์์เป็น HOCl โดยสารตั้งต้นเหล่านี้มีหลายชนิด เช่น
1. แก๊สคลอรีน (Cl2) ที่อุณหภูมิห้องมีีสถานะแก๊สเมื่อผ่านแก๊สคลอรีนลงในน้ำจะเกิดปฏิกิริยาเคมี ดังสมการเคมีต่อไปนี้
แต่เนื่องจากสารนี้มีสถานะแก๊ส มีีสมบัติกัดกร่อนและเป็นพิษ จึงไม่สะดวกต่อการนำมาใช้ในสระว่ายน้ำ
2. เกลือไฮโปคลอไรท์ เช่น โซเดีียมไฮโปคลอไรท์ (NaOCl) เป็นสารประกอบที่่พบในน้ำยาฟอกขาว ที่อุณหภูมิ ห้องมีีสถานะของเหลวที่ไม่เสถียร ส่วนใหญ่จึงพบอยู่่ในรูปสารละลาย มีชื่อทางการค้าว่า คลอรีนน้ำ ปฏิกิริยาเคมีีระหว่าง NaOCl กับน้ำเขียนสมการเคมีได้ดังนี้
แคลเซียมไฮโปคลอไรท์ (Ca(OCl)2) มีีสถานะของแข็ง มีชื่อทางการค้าว่า คลอรีนผง หรือ คลอรีนเกล็ด ปฏิกิริยาเคมีระหว่าง Ca(OCl)2 กับน้ำเขียนสมการเคมีได้ดังนี้
สารทั้งสองชนิดนี้ใช้้งานได้้สะดวก จึงนิยมนำ มาใช้้ในสระว่ายน้ำ
3. สารประกอบ Chlorinated Isocyanurate เช่น Trichloroisocyanuric Acid เมื่อละลายน้ำ จะได้้กรดไซยานูริค (Cyanuric Acid) และ HOCI ดังสมการเคมี
HOCl เป็นกรดอ่อน เมื่อละลายในน้ำจะแตกตัวได้ไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) และ ไฮโปคลอไรท์ไอออน (OCl−) ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาผันกลับได้้ ดังสมการ
ทั้ง HOCl และ OCl− สามารถกำจัดแบคทีีเรียและตะไคร่น้ำได้้ โดย HOCl มีีประสิทธิิภาพที่่ดีกว่า ดังนั้น ต้องมีีการควบคุมปริิมาณ HOCl และ OCl− ให้้เหมาะสม ปริิมาณของ HOCl และ OCl− ที่่อยู่่ในสระว่ายน้ำขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ปริิมาณ HOCl และ OCl− จะลดลง เนื่องจากใช้้ในการกำจัดแบคทีีเรียและตะไคร่น้ำ รวมทั้งการเกิดปฏิกิริยากับสารประกอบอินทรีย์ที่่อยู่่ในสระว่ายน้ำ หรือการสลายตัวเมื่อถูกแสงแดด โดย OCl− เมื่อโดนแสงยูวี (νuv) จากแสงแดดจะสลายตัวได้้เร็วกว่า HOCl ดังสมการ
นอกจากนี้ ปริิมาณ HOCl ยังขึ้นกับระดับ pH ในสระว่ายน้ำโดยที่่ pH ต่ำจะมีีปริิมาณ HOCl มาก ส่วนที่่ pH สูงจะมีีปริิมาณ HOCl น้อย แต่ที่่ pH 7.5 จะมีีปริิมาณ HOCl และ OCl− เท่ากัน ดังข้อมูลในตาราง
ถ้า pH มีีค่าต่ำ (มีีปริิมาณ H3O+ ในน้ำ มาก) จะส่งผลให้้มีี HOCl เพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบจะปรับตัวเพื่อลดปริิมาณ H3O+ โดยเกิดปฏิกิริยาระหว่าง H3O+ และ OCl− เพิ่มขึ้น ทำให้้ได้้ HOCl เพิ่มขึ้น ดังสมการเคมี
แต่ถ้า pH มีค่าสูง (มีีปริิมาณ OH− ในน้ำมาก) จะส่งผลให้้ HOCl ลดลง เนื่องจาก H3O+ จะทำปฏิกิริยากับ OH− ทำให้้ H3O+ ลดลง ดังสมการเคมี
ระบบจะปรับตัวเพื่อเพิ่มปริมาณ H3O+ โดย HOCl จะแตกตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ได้ H3O+ และ OCl− เพิ่มขึ้นดังสมการเคมี
ดังนั้น จึงต้องมีการปรับค่า pH ในสระว่ายน้ำให้เหมาะสม โดยที่ pH 7.2 - 7.8 HOCI และ OCl− จะมีปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามี pH ต่ำกว่า 7.2 จะมีปริมาณ HOCI มาก ทำให้เกิดการแสบตได้ แต่ถ้ามี pH สูงกว่า 7.8 จะมีปริมาณ OCl− มาก การกำจัดแบคที่เรียจะลดลง นอกจากนี้ OCl− จะสลายตัวอย่างรวดเร็วเมื่อโดนแสงแดด การปรับ pH ทำได้โดยเติมกรดหรือเบสลงไปในสระว่ายน้ำ เช่น ถ้าน้ำมี pH ต่ำเกินไป จะเติมโซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ลงไปเพื่อทำปฏิกิริยากับ H3O+ ทำให้ pH เพิ่มขึ้น แต่ถ้าน้ำมี p สูงเกินไปจะเติมซเดียมไฮใดรเจนซัลเฟต (NaHSO4) ลงไปเพื่อทำปฏิกิริยากับ OH− ทำให้ pH ลดลง
นอกจากนี้ น้ำปัสสาวะและเหงื่อของคนที่ลงว่ายน้ำในสระ ซึ่งมีแอมโมเนีย (NH3) ที่สามารถทำปฏิกิริยากับ HOCI เกิดเป็นสารประกอบ Chloramine เช่น NH2CI NHCI3 NHCl3 ซึ่งมีกลิ่นเฉพาะของสระว่ายน้ำ ดังสมการเคมี
สารประกอบ Chloramine อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและจมูกของผู้ที่ลงว่ายน้ำในสระ นอกจากนี้ในปัสสาวะยังมีกรดยูริค ที่สามารถเกิดปฏิกิริยาเป็นไซยาโนเจนคลอไรด์ ซึ่งเป็นสารกลุ่มเดียวกับไซยาไนต์ ทำให้เกิดการระคายเคืองตา จมูก และทางเดินหายใจได้
การดูแลรักษาสระว่ายน้ำดูเหมือนจะง่ายเพียงแค่ใส่สารเคมีบางชนิดลงไปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วมีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางเคมีหลายด้าน เช่น PH กรด-เบส สมดุลเคมี ปฏิกิริยาของ HOCI และ OCl− กับสารอื่น ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
The Chemistry of Swimming Pool Maintenance. Retrieved March 3. 2020. From
https://pdfis.semanticscholar.org/1245/ebb-7f16860356aa8141598227133d33d58e5.pdf.
Compound Interest (2020). The Chemistry of Swimming Pool. Retrieved March 3. 2020. from
https://www.compoundchem.com/2015/08/12/swimming-pools/
Swimming Pool Chemistry. Retrieved March 3. 2020. From https://www.acs.org/content/dam/acsorg/
education/resources/ highschool/chemmatters/articlesbytopic/acidsandbases/chemmatters-april1983-swimming-pool.pdf.
-
12175 เคมีในสระว่ายน้ำ /article-chemistry/item/12175-2021-06-09-09-32-52เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง