ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 8 สถิติ
มาถึงบทความเรื่องประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันตอนสุดท้ายกันแล้ว ในตอนที่ 8 สถิติ ในตอนสุดท้ายนี้ เรามาดูกันว่าสถิติอย่างง่ายที่เราพบเห็นกันได้บ่อย ๆ และเป็นพื้นฐานทางด้านการตัดสินใจจะมีอะไรบ้าง ติดตามกันได้เลย
ภาพกราฟแสดงข้อมูลทางสถิติ
ที่มา https://pixabay.com/ , kreatikar
รู้หรือไม่ว่าในชีวิตประจำวัน สถิติอยู่รอบตัวเราเสมอ เพราะส่วนใหญ่เราจะต้องได้พบกับข้อมูล ในช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หนังสือ ข่าว การประชาสัมพันธ์ งานวิจัย เว็บไซต์ สื่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งช่องทางที่กล่าวไปนั้นจะมีวิธีการและข้อมูลทางสถิติเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ ตัวอย่างคือ สถิติจำนวนประชากร สถิติการเกิดอุบัติเหตุ สถิติจำนวนผู้ป่วยโรคต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสถิติเหล่านี้ มักแสดงอยู่ในรูปของตาราง กราฟแท่ง กราฟเชิงเส้น แผนภาพ วงกลม รวมไปถึง ข้อมูลทางสถิติในการตอบแบบสอบถาม ข้อมูลการวิจัย การสัมภาษณ์
สถิติ
สถิติคือข้อมูลหรือตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ มักเป็นข้อมูลที่แสดงจำนวน ปริมาณ เช่น ข้อมูลรายได้ ปริมาณน้ำฝน เป็นต้น การใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์จะต้องใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และสถิติ โดยผ่านระเบียบวิธีการทางสถิติ 4 ขั้นตอนสำคัญคือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การน้ำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการแปรผลข้อมูล
ข้อมูลสำคัญทางสถิติพื้นฐานที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
- ประชากร (population) กับ ตัวอย่าง (sample)
ประชากรคือสิ่งที่เรากำลังสนใจหรือข้อมูลทั้งหมด เช่น ลูกค้าทั้งหมด สินค้าทั้งหมด แต่ตัวอย่างคือข้อมูลส่วนหนึ่งจากประชากรทั้งหมดที่เราสนใจและนำมาวิเคราะห์
- ค่ากลาง
2.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) คือผลรวมของค่าทั้งหมดหารด้วยจำนวนข้อมูล
ตัวอย่างเช่น 7,5,3,6,2,7 ค่าเฉลี่ย = (7+5+3+6+2+7)/6 = 5
2.2 ค่ามัธยฐาน (Median) คือ ตัวอย่างในตำแหน่งกลางของชุดข้อมูล จากการเรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก
ตัวอย่างเช่น การหาค่ามัธยฐานจากชุดข้อมูล 29,22,35,30,55,48,89,70
เรียงชุดข้อมูลใหม่ได้ดังนี้ 22,29,30,35,48,55,70,89
ตำแหน่งของมัธยฐานคือ (n+1)/2 = (8+1)/2 = 4.5
มัธยฐานคือข้อมูลในตำแหน่งที่ 4.5 ตำแหน่งที่ 4.5 มีค่าเท่ากับ (35+48) / 2 = 41.5
ดังนั้น ค่ามัธยฐานเท่ากับ 41.5
2.3 ค่าฐานนิยม (Mode) คือตัวเลขค่ากลางที่มีจำนวนมากที่สุด การหาฐานนิยม คือ หาตัวที่ซ้ำกันมากที่สุด
ตัวอย่างเช่น คะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนห้องหนึ่งมีดังนี้
ระดับคะแนน |
ความถี่ ( * แทนจำนวน 10 คน |
4 |
** |
3 |
**** |
2 |
********** |
1 |
*** |
จากตาราง ฐานนิยมคือ ระดับคะแนน 2
2.4 พิสัย (Range) คือความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่มีค่าสูงสุด และ ต่ำสุด
ตัวอย่างเช่น อายุของพนักงานกลุ่มหนึ่งคือ
28 45 22 36 32 44 38
57 55 19 20 33 41 46
พิสัย = ข้อมูลที่มีค่าสูงสุด – ข้อมูลที่มีค่าต่ำ
= 57 – 19
= 38
ในชีวิตประจำวันข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ มากมายทั้งการวางแผนเพื่อการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจ สังคม ผลิตและจำหน่ายสินค้า ด้านเกษตรกรรม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าสถิติเป็นข้อมูลรูปแบบหนึ่งที่ผ่านกระบวนการทาคณิตศาสตร์ ทำให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญคือการิวเคราะห์และการตัดสินใจเพื่อวางแผนต่าง ๆ ทั้งการดำเนินชีวิต การบริหารงานต่าง ๆ ตั้งแต่ตัวเองไปจนถึงระดับประเทศ
แหล่งที่มา
คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน Mathematics for Daily Life . สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก https://reg2.crru.ac.th/reg/files/20150929020102_3aa31caba936b876645ada5b607be6ff.pdf
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกาญจน์ ใจดี. แบบฝึกหัดเรื่อง สถิติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก http://1.179.148.84/obec-media/2555/manual/%a4%d9%e8%c1%d7%cd%a4%b3%d4%b5%c8%d2%ca%b5%c3%ec/%b5%cd%b9%b7%d5%e8%2064%20%e1%ba%ba%bd%d6%a1%cb%d1%b4%e0%c3%d7%e8%cd%a7%20%ca%b6%d4%b5%d4%20%b5%cd%b9%b7%d5%e8%202.pdf
อำนาจ วังจีน . สถิติกับชีวิตประจำวัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563. จาก http://sripatum-review.spu.ac.th/doc/51_19-09-2018_16-31-08.pdf
-
11670 ประโยชน์ของคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ตอนที่ 8 สถิติ /article-mathematics/item/11670-8เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง