คิดก่อน...บลา บลา นานาโชเชียล
สื่อสังคม หรือ Social Media ได้เข้ามามีอิทธิพลและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไปหลายเรื่อง เช่น หากต้องการ ทราบข่าวสารต่าง ๆ เมื่อก่อนเราก็ไปซื้อหนังสือพิมพ์ หรือเปิดโทรทัศน์ ฟังวิทยุ แต่สมัยนี้ใช้เพียงแค่ปลายนิ้วจิ้มไปที่ สมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็สามารถอ่านข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าต้องการคุยกับเพื่อนก็โทรหา แต่เมื่อมีสื่อสังคม ทำาให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดยการพิมพ์ข้อความหรือ “แชท” (Chat) ผ่านโปรแกรมสนทนา สามารถส่งข้อความได้ทั้งแบบส่วนตัวหรือในกลุ่มสนทนา หรืออาจวิดีโอคอลก็ได้ นอกจากนี้ ยังใช้โพสต์ข้อความ รูปภาพ คลิปวีดิทัศน์ หรือถ่ายทอดสดเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันทีทันใด
จะเห็นได้ว่าสื่อสังคมมีประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ต้องใช้อย่างเหมาะสม และระมัดระวังไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น ผู้ใช้จึงต้องคิดก่อน ดังประเด็นต่อไปนี้
ภาพ 1 คิดอะไรบ้างก่อนแชร์หรือโพสต์
ที่มา Sarah Bengtson. (2018). https://iowacity.citymomsblog.com/2018/06/29/responsible-sharing-social-media/
คิดก่อนแชร์ (Share)
หลายคนเมื่อได้รับข่าวหรือข้อมูลในสื่อสังคม จะแชร์หรือส่งต่อในโปรแกรมสนทนาทันทีทั้งในรูปแบบ การสนทนาส่วนตัว หรือในห้องสนทนากลุ่ม เรียกได้ว่าเป็น “ม้าเร็วส่งสาร” แต่ช้าก่อน!!! ก่อนจะแชร์อะไรออก ไป เรามา “คิด” (THINK) กันสักนิดดีไหม
ภาพ 2 ตัวอย่างข้อความในแชท
ที่มา หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
T: True เป็นเรื่องจริงหรือไม่ ต้องคิดไว้เสมอก่อนแชร์ว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ โดยตรวจสอบจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ถ้าข้อมูลนั้นไม่เป็นความจริงและ หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เช่น กินสิ่งนี้แล้วจะหายจากโรคนั้น หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยต่าง ๆ เมื่อผู้รับข้อความนำาข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ไปปฏิบัติตาม อาจจะเกิดอันตรายได้ รวมถึงในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดภัยพิบัติ การแชร์ข่าวยิ่งต้องใช้ความระมัดระวังให้มาก เพราะ ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก นอกจากนี้ การแชร์ข่าวหรือเรื่องที่ไม่เป็น ความจริงนั้น ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำาความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 มีโทษจำาคุก ไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำาทั้งปรับอีกด้วย
H: Helpful เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นหรือไม่ แม้ว่าข้อมูลนั้นจะเป็นเรื่องจริง แต่ถ้าไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นก็ไม่ควรแชร์
I: Inspiring เป็นเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความรู้สึกที่ดีต่อผู้อ่านหรือไม่ ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ควรแชร์ตัวอย่างข้อมูลลักษณะนี้ เช่น ข่าวอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่มีภาพสยดสยอง น่ากลัว ผู้ที่ได้รับข่าวอาจจะรู้สึกหดหู่ สลดใจ จึงไม่ควรแชร์
N: Necessary เป็นเรื่องที่ผู้อื่นจำาเป็นต้องทราบหรือไม่ หากไม่จำาเป็น หรือไม่อยู่ในความสนใจ อาจเป็นการรบกวนหรือสร้างความรำคาญได้ รวมถึงควรเลือกแชร์ข้อมูลให้เหมาะสมกับกลุ่มสนทนาด้วย
K: Kind ต้องพิจารณาว่า ผู้เผยแพร่เรื่องนี้มีเจตนาดีต่อผู้อื่นหรือไม่มีวัตถุประสงค์อะไรในการเผยแพร่ ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ดีต่อผู้อื่นก็ไม่ควรแชร์ เช่น ถ้าเจอ โพสต์ "ส่งต่อเพื่อช่วยน้องเหมียว" ในสื่อสังคม ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าเจตนา ของผู้เผยแพร่คืออะไร และถ้าเราแชร์ต่อแล้ว น้องเหมียวจะได้รับการช่วยเหลือ อย่างที่เราตั้งใจไว้จริงหรือไม่ ซึ่งโพสต์ในลักษณะนี้ ผู้เผยแพร่จะได้ประโยชน์ใน การประชาสัมพันธ์แฟนเพจ ได้ยอดคนกดถูกใจเพิ่มขึ้น หรืออาจจะมีโฆษณาแฝง ถ้าเราแชร์ต่อก็จะตกเป็นเครื่องมือในการโฆษณาให้เขาโดยที่ไม่รู้ตัว
ภาพ 3 ตัวอย่างโพสต์ "ส่งต่อเพื่อช่วยน้องเหมียว"
ที่มา หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คิดก่อนโพส (Post)
นอกจากต้องคิดก่อนแชร์แล้ว ก่อนที่เราจะโพสต์ภาพหรือข้อความใด ๆ บนสื่อสังคมต้อง "คิด" (Think) เช่นเดียวกัน และต้องตระหนักอยู่เสมอว่าสิ่งที่เราจะโพสต์ลงสื่อสังคม จะทำาให้ผู้อื่นเดือดร้อนหรือไม่ เช่น การตัดต่อ ภาพผู้อื่นแล้วโพสต์ ทำให้ผู้อื่นเสียหายและเสียชื่อเสียง ถือเป็นการระรานทางไซเบอร์รูปแบบหนึ่ง มีความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 16 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท และอาจถูกฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำาคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 อีกด้วย
นอกจากการตัดต่อภาพที่สร้างความเสียหายให้กับ ผู้อื่นแล้ว การถ่ายภาพผู้อื่นแล้วโพสต์โดยใช้ข้อความแสดง ความคิดเห็นที่ทำาให้ผู้อื่นเสียหาย ก็เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควร ปฏิบัติเช่นกัน เราอาจเคยพบข่าวต่าง ๆ เช่น กรณีที่มีผู้โพสต์ภาพ แม่บ้านนั่งพื้นรอนายจ้างรับประทานอาหาร และผู้โพสต์เขียน ข้อความประกอบในลักษณะต่อว่านายจ้าง ทำาให้นายจ้าง ถูกประนาม ด่าทอ โดยที่พวกเขาไม่ได้ทำาอะไรผิดเลย ซึ่งใน ความเป็นจริง แม่บ้านคนนั้นเต็มใจที่จะนั่งรอบนพื้น และก่อน หน้านั้นก็ได้รับประทานอาหารร่วมกับนายจ้างเรียบร้อยแล้ว เร่ืองนี้สอนให้รู้ว่า สิ่งที่เห็นอาจไม่เป็นอย่างที่คิด อย่าด่วนตัดสิน ใครไปก่อนที่จะรู้ความจริงทั้งหมด เราจึงมักได้ยินคำาเหล่านี้ “โอละพ่อ” “เงิบ” “โป๊ะแตก” ดังนั้น ก่อนจะโพสต์ข้อความ วิพากษ์วิจารณ์เรื่องใด ควรตรวจสอบความจริงก่อน เพราะอาจ ทำาให้ผู้อื่นเสียหายด้วยปลายนิ้วของเราก็ได้ ซึ่งการโพสต์ลักษณะนี้ เป็นการกระทำาผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ทั้งมาตรา 14 และ 16 เนื่องจากเป็นการเผยแพร่ทั้งข่าวลวง และข่าวที่สร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น ผู้เสียหายสามารถ ฟ้องร้องฐานหมิ่นประมาทได้เช่นเดียวกัน
ภาพ 4 ตัวอย่างการระรานทางไซเบอร์
ที่มา หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
คิดก่อนคอมเมนต์ (Comment)
พฤติกรรมต่อมาที่ควรตระหนักและควรระมัดระวังคือ การใช้ข้อความแสดงความคิดเห็น อย่าลืมว่าสื่อสังคม เป็นสื่อสาธารณะ แม้ว่าเราจะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเฉพาะเพื่อนแล้วก็ตาม หรือแสดงความเห็นในโพสต์ของเราเอง ก็ควรใช้คำที่สุภาพ เหมาะสม ไม่ว่าร้ายผู้อื่นหรือใช้คำาพูดส่อเสียด ทำให้ผู้อื่นเสียหาย ซึ่งนอกจากจะผิดจริยธรรมแล้วยัง ผิดกฎหมายอีกด้วยเช่นกัน ถึงแม้จะต่อท้ายด้วยคำว่า “ความคิดเห็นส่วนตัว งดดราม่า” หรือ “คหสต.” แล้วก็ตาม ซึ่งข้อความที่เราแสดงความคิดเห็นใต้โพสต์ของแฟนเพจต่าง ๆ หรือกลุ่มที่ตั้งค่าการแสดงเป็นสาธารณะ จะแสดงใน หน้าแรกของสื่อสังคมของเพื่อนคนอื่น ๆ ของเราด้วย (ถ้าไม่ได้ตั้งค่าให้แสดงข้อความเฉพาะผู้ดูแลแฟนเพจ)
คิดก่อนแฮชแท็ก (Hash Tag)
นอกจากจะต้องคิดก่อนแชร์ คิดก่อนโพสต์ และคอมเมนต์แล้ว การใช้สื่อสังคมออนไลน์จะต้องใช้วิจารณญาณ และพิจารณาข้อมูลให้รอบด้านก่อนจะเชื่อหรือตัดสินใจอีกเรื่องหนึ่ง คือ การติดแฮชแท็กเป็นการพิมพ์เครื่องหมายแฮชแท็ก (#) ตามด้วยคำาที่บ่งบอกหมวดหมู่หรือสาระสำคัญของเรื่อง เมื่อผู้อ่าน คลิกคำที่มีเครื่องหมาย # ก็จะสามารถเชื่อมโยงไปยังโพสต์อื่น ๆ ที่ติดเครื่องหมาย # เช่นเดียวกับคำนั้นได้ ใช้ประโยชน์ ในการค้นหาเพื่ออ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกันได้ ในบางครั้งเครื่องหมาย # ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปลุกระดม คนในสื่อสังคมให้มีความเห็นคล้อยตามกันในเร่ืองใดเร่ืองหนึ่ง โดยคนอื่น ๆ ก็พิมพ์ #ข้อความเหล่านั้น และเชื่อตามๆ กัน โดยไม่ได้ตรวจสอบที่มาที่ไปของเรื่องราวหรือข่าวเหล่านั้น บุคคลที่ไม่ได้ทำอะไรผิดก็ถูกกล่าวหาและถูกสังคม ตัดสินไปแล้ว ดังนั้น ก่อนจะพิมพ์ # แชร์ แสดงความคิดเห็น กดถูกใจในสื่อสังคม จะต้องใช้วิจารณญาณและศึกษา ข้อมูลให้รอบด้าน เพราะสิ่งที่ทำาอาจส่งผลเสียมากกว่าที่เราคิดก็ได้
ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางปฏิบัติในการใช้สื่อสังคมโดยไม่สร้างความเดือดร้อนหรือเสียหายต่อผู้อื่น สิ่งเหล่านี้ ควรปลูกฝังให้เกิดกับผู้ใช้สื่อสังคมทุกคนตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ก่อนจะทำอะไรต้องคิดให้มาก และตระหนักอยู่เสมอว่า สิ่งเหล่านั้นจะส่งผลกระทบถึงใคร หรือทำาให้ใครเดือดร้อนบ้าง เราควรใช้สื่อสังคมในทางสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ ต่อสังคม เช่น เผยแพร่เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ สาระความรู้ ช่วยเหลือผู้อื่น สื่อสังคมเปรียบเสมือนกระดาษขาว เราอยากให้กระดาษใบนี้เป็นภาพวาดสวยๆ หรือเป็นภาพน่ากลัว ก็ขึ้นอยู่กับเรา...
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Kapook. แชร์ว่อน! แม่บัานนั่งพื้นรอเจ้านายกินข้าว-โซเชียลเสียงแตก ชี้อย่าเพิ่งเชื่อแค่รูปๆ เดียว. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2563, จาก https://hilight.kapook.com/view/165549.
Khaosod. “ป้าสุมัย” มาเองจบดราม่าแบ่งชนชั้นแม่บ้านนั่งพื้น แจงเจ้านายเลี้ยงดี นั่งเก้าอี้ไม่เป็น. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2563, จาก https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_679653.
Sarah Bengtson. (2018). T.H.I.N.K. Before You Share: Responsible Sharing on Social Media. Retrieved January 10, 2020, from
https://iowacity.citymomsblog.com/2018/06/29/responsible-sharing-social-media/.
ธรรณพ สมประสงค์. Hashtag คืออะไร และ วิธีการใช้ #Hashtag ที่เหมาะสุม. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2563, จาก https://www.thanop.com/hashtag/.
นิติธร แก้วโต. รู้ก่อนทำผิด! พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่มีอะไร. สืบค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563, จาก https://www.thairath.co.th/content/956490.
ผนวกเดช สุวรรณทัต. (2560). เอกสารประกอบัการอบรมครู วิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษา. สาขาเทคโนโลยี สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2561). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค. ศึกษาภัณฑ์์พาณิชย์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค. ศึกษาภัณฑ์์พาณิชย์.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ10 มกราคม 2563, จากhttps://ictlawcenter.etda.or.th/laws/detail/computer-crime-2-act-2560.
-
12170 คิดก่อน...บลา บลา นานาโชเชียล /article-technology/item/12170-2021-04-27-08-44-41เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง