ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่
หากผู้อ่านได้ติดตามบทความในนิตยสารสสวท. ปีที่ 48 ฉบับที่ 222 มกราคม - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เรื่อง คิดก่อน บลา บลา นานาโซเชียล ที่ได้กล่าวถึง แนวทางปฏิบัติในการใช้สื่อสังคม โดย ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือเสียหายต่อผู้อื่น และต้อง
ภาพ 1 ปกนิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 222
ที่มา http://emagazine.ipst.ac.th/222/28/
ภาพ 2 คิดอะไรบ้างก่อนแชร์หรือโพสต์
ที่มา Sarah Bengtson. (2018). https://iowacity.citymomsblog.com/2018/06/29/responsible-sharing-social-media/
หนึ่งในประเด็นของ THINK คือ True หรือการพิจารณาว่าข้อมูลนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เราจะทราบได้อย่างไร ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นเป็นเรื่องจริง มีความน่าเชื่อถือสำหรับนำไปใช้อ้างอิงได้หรือไม่ และจะตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ของข้อมูลได้อย่างไร พิจารณาได้จากประเด็นต่อไปนี้
ยูอาร์แอล (URL: Universal Resource Locator) เป็นการพิจารณาว่าข้อมูลนั้นมี แหล่งอ้างอิงจากเว็บไซต์ใด และเป็นเว็บไซต์ประเภทใด หากเป็นเว็บไซต์เพื่อการค้าหรือเป็น องค์กรธุรกิจ มักจะลงท้ายด้วย .com, .co.th ถ้าเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐจะลงท้ายด้วย .gov, .go.th ส่วนเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาจะลงท้ายด้วย .edu, .ac.th ซึ่งหากต้องการ ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ควรเลือกจากหน่วยงานที่เป็นสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ
ภาพ 3 Infographic เรื่อง เตือนเว็บไซต์ปลอม หลอกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว
ที่มา https://krungthai.com/th/content/financial-partner/security-tips-for-digital-life/web-phishing
การสังเกตยูอาร์แอล สามารถใช้ระวังภัยจาก มิจฉาชีพทางโลกไซเบอร์ เช่น ฟิชชิง (Phishing) ได้อีกด้วย ดังที่พบเห็นในข่าวปัจจุบันที่มีการปลอมแปลงเว็บไซต์ของ สื่อสังคมหรือธนาคาร โดยการส่งลิงก์ทางอีเมล ส่งข้อความ ในสมาร์ตโฟนหรือโปรแกรมสนทนา ให้เข้าไปกรอกข้อมูล ส่วนตัวหรือรหัสผ่าน ซึ่งหากมองเพียงแค่ยูอาร์แอลส่วน หน้าจะเหมือนกับเว็บไซต์นั้นจริง ๆ แต่มักจะต่อท้ายด้วย ยูอาร์แอลยาวๆ หรือไม่ได้ลงท้ายด้วย .com หรือ .co.th และเมื่อคลิกเข้าไปจะพบหน้าเว็บไซต์ที่เหมือนกับเว็บไซต์จริง หากผู้ใช้หลงเชื่อและกรอกข้อมูลสำคัญลงไปในเว็บไซต์ปลอม เหล่านี้ มิจฉาชีพก็สามารถนำาข้อมูลไปสวมรอยทำธุรกรรม แทนได้ สิ่งที่ต้องทำาคือ จดจำและสังเกตยูอาร์แอลของ เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นประจำ หรือหากเกิดข้อสงสัยให้ ติดต่อสอบถามกับหน่วยงานนั้นโดยตรง
ผู้เขียน ต้องพิจารณาว่าข่าวหรือข้อมูลนั้นได้ระบุชื่อผู้เขียนไว้หรือไม่ ซึ่งควรจะระบุเป็นชื่อจริงไม่ใช่นามแฝง และพิจารณาด้วยว่าผู้เขียนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านั้นโดยตรงหรือไม่ โดยอาจ ค้นหาประวัติของผู้เขียนเพิ่มเติม
ภาพ 4 พบวัตถุปริศนาในอ่าวไทย
ที่มา แบบฝึกทักษะรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สสวท.)
จากภาพ 4 เป็นตัวอย่างข่าวการพบวัตถุ ปริศนาในอ่าวไทย ในเนื้อหามีการเรียบเรียงและ ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่สอดแทรกความคิดเห็นของ ผู้เขียน โดยมีคำแสดงถึงการคาดการณ์ข้อมูลที่ยัง ไม่ทราบความจริง และเมื่อพิจารณาที่ผู้เขียนซึ่งมี ตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ ก็ยิ่งสร้าง ความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น แต่เมื่อดูชื่อคณะที่ผู้เขียน สังกัดนั้น จะเห็นว่าไม่สอดคล้องกับประเด็นในข่าว ทั้งนี้ผู้ที่จะให้ข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือและตรงตาม ความเป็นจริง ควรจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านโบราณ วัตถุหรือวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ ใกล้เคียงมากกว่า
แหล่งที่มา ต้องพิจารณาว่าข่าวนั้นมีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือหรือไม่ หรือเป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เขียน เท่านั้น โดยแหล่งอ้างอิงมีหลายประเภทที่สามารถนำามาพิจารณาประกอบกันได้ เช่น งานวิจัย การอภิปรายที่มีหลักฐาน ที่เชื่อถือได้ งานเขียนทางวิชาการ บทความ หนังสือ วารสาร
วันที่เผยแพร่ ต้องตรวจสอบว่าข่าวนั้นเผยแพร่เมื่อวันที่ เดือน และปีใด เพราะสามารถนำไปใช้พิจารณา ความเป็นปัจจุบันได้ ความรู้ทางวิชาการบางเรื่องอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาที่มีการค้นพบข้อมูลใหม่ ข่าวต่าง ๆ แม้ว่าจะเป็นเรื่องจริง แต่ในปัจจุบันเหตุการณ์นั้นผ่านไปแล้วหรือสิ้นสุดไปแล้ว ก็อาจจะไม่เกิดประโยชน์ เช่น ข่าวให้ช่วยกันตามหารถหายและมีเด็กติดไปในรถด้วย ซึ่งมีคนแชร์กันเป็นจำนวนมาก แต่จริง ๆ แล้วเป็นข่าวที่เกิดขึ้นเมื่อ หลายปีก่อน ในปัจจุบันเจ้าของก็ได้พบรถแล้ว และคนร้ายก็ถูกดำเนินคดีไปแล้ว แต่ปัจจุบันยังพบเห็นการแชร์ข่าวนี้อยู่
ภาพ 5 หยุดแชร์ได้แล้ว! ตร.จับคนร้ายขโมยรถหลังก่อเหตุใน อ. ปากช่อง
ที่มา https://www.js100.com/en/site/news/view/7836
หากนำข่าวที่ได้รับการแชร์มาประเมินตามประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว พบว่าไม่น่าเชื่อถือ ข่าวดังกล่าวนี้ถือว่า เป็น “ข่าวลวง” หรือ Fake News ซึ่งข่าวลวง หมายถึง ข่าวที่ไม่เป็นความจริง มีเจตนาเพื่อบิดเบือนข้อมูลหรือหลอกลวง โดยส่งผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ หรือผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ไม่มีที่มา ไม่ระบุชื่อผู้เขียน การสร้างข่าวลวงอาจมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
สร้างความหวาดกลัว ข่าวลวงประเภทนี้มักใช้คำา หรือภาพที่ดูแล้วน่าตกใจ ตื่นตระหนก เพื่อให้คนหวาดกลัว และอยากทราบรายละเอียด เมื่อคลิกอ่าน เจ้าของเว็บไซต์ จะได้ยอดผู้เข้าชมเพิ่ม หรือถ้าส่งต่อข่าวนี้ไปให้ผู้อื่น ก็จะได้ โฆษณาเว็บไซต์หรือสินค้า
ภาพ 6 ทุเรียนเผา กินแล้วตาย
ที่มา หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.)
กระตุ้นความโลภเป็นข่าวลวงที่ใช้รางวัลมาสร้างแรงรูงใจให้คนต้องการและอยากได้ เช่น ให้แชร์ ส่งต่อ หรือแสดงความคิดเห็น หลายคนอาจจะเคยเห็นโพสต์ในลักษณะนี้ "แชร์ข่าวนี้ลุ้นรับ...." หรือ "ส่งต่อในกลุ่มสนทนาครบ 10 กลุ่ม จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ แล้วรับสติ๊กเกอร์ฟรี" ผู้ส่งข่าวลวงประเภทนี้จะได้ประโยชน์ในด้านการโฆษณาเว็บไซด์ และสินค้าโดยอาจไม่ได้มีการแจกรางวัลจริง
ภาพ 7 แค่แชร์ข่าวนี้ลุ้นรับฟรี
ที่มา หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สร้างความเกลียดชัง ข่าวลวงประเภทนี้ สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือทำลายชื่อเสียงบุคคลอื่น สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งเมื่อได้รับข่าวลักษณะนี้ คือเชื่อโดยที่ไม่ได้ตรวจสอบที่มาของข้อมูล ตัดสินคน จากข้อความเพียงไม่กี่บรรทัด แม้ว่าข่าวนั้นจะเป็น ความจริงก็ไม่ควรแชร์ต่อ หรือแสดงความเห็นด้วย คำหยาบคาย
ภาพ 8 ลือหึ่ง!!! ดาราสาว อักษรย่อ ฃ. เบี้ยวนัดงานหนีเที่ยวกลางคืน
ที่มา หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.)
ข่าวลวงอาจจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีก แต่ไม่ว่าจะถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์อย่างไร ผู้ใช้งานสื่อสังคมควรรู้เท่าทัน เพราะอาจตกเป็นเครื่องมือให้ช่วยเผยแพร่ข่าว ช่วยโฆษณาสินค้า หรือทำาลายชื่อเสียงผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว
ตัวอย่างหนึ่งของสถานการณ์ที่ต้องพิจารณาความ น่าเชื่อถือของข้อมูลให้มาก ๆ ก่อนแชร์ คือ เมื่อเกิดภัยพิบัติ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคนหมู่มาก การแชร์ข่าวที่เกี่ยวข้องยิ่งต้องคิดให้ดีก่อนแชร์ จะเห็นได้จาก วิกฤติการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) มีการแชร์ข้อมูลและข่าวเกี่ยวกับโรคดังกล่าวมากมาย ดัง ตัวอย่าง
- วิธีการสังเกตตัวเองว่าติดเชื้อไวรัสโคโรน่า-19 หรือไม่ ด้วยการกลั้นหายใจ
ภาพ 9 ข่าวปลอม กลั้นหายใจ ตรวจการติดเชื้อ 'ไวรัสโคโรนา' ด้วยตัวเอง
ที่มา https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-กลั้น/
- กลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำเกลือ ช่วยฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้
ภาพ 10 ข่าวปลอม กลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมน้ำเกลือ ช่วยฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้
ที่มา https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-ลือ-เช
- ไม่ใส่หน้ากากอนามัยในรถยนต์ส่วนบุคคล ต้องโดนปรับ
ภาพ 11 ข่าวปลอม ไม่ใส่หน้ากากอนามัยในรถยนต์ส่วนบุคคล ต้องโดนปรับ
ที่มา https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-คนผ่า/
จะเห็นได้ว่าหากเผยแพร่ข่าวปลอมเหล่านี้ออกไปแล้ว ผู้อื่นเชื่อและปฏิบัติตามอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ และทำให้เกิดความตระหนกกับผู้คนหมู่มากได้ จึงต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวและข้อมูลต่าง ๆ ก่อนจะเชื่อหรือแชร์ออกไป
หากผู้อ่านพบข้อมูลลักษณะนี้ในสื่อสังคม และได้ตรวจสอบตามประเด็นการพิจารณาความน่าเชื่อถือที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว แต่ยังไม่แน่ใจว่าเรื่องเหล่านี้เป็นความจริงหรือไม่ ผู้เขียนมีตัวอย่างแหล่งตรวจสอบข่าวลวงมาแนะนำ เช่น
- ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมhttps://www.antifakenewscenter.com
- สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ข่าวจริงประเทศไทย http://realnewsthailand.prd.go.th
- เว็บไซต์อื่น ๆ ของหน่วยงานราชการ
เนื่องจากในปัจจุบัน เราสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย จึงต้องตรวจสอบแหล่งที่มา และ พิจารณาความน่าเชื่อถือตามประเด็นต่าง ๆ ที่กล่าวไปแล้ว ก่อนที่จะเชื่อ ปฏิบัติตาม หรือแชร์ข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้อื่นอ่าน นอกจากจะเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนแล้ว ยังทำาให้เราไม่เป็นบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถืออีกด้วย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
Sarah Bengtson. (2018). T.H.I.N.K. Before You Share: Responsible Sharing on Social Media. Retrieved February 20, 2019, from https://iowacity.citymomsblog.com/2018/06/29/responsible-sharing-social-media/.
University of Georgia. Finding Reliable Sources: What is a Reliable Source? Retrieved July 8, 2020, from https://guides.libs.uga.edu/reliability. ธนาคารกรุงไทย. เตือนเว็บไซต์ปลอม หลอกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563, จาก https://krungthai.com/th/content/financial-partner/security-tips-for-digital-life/web-phishing.
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ข่าวปลอม อย่าแชร์! กลั้นหายใจ เช็คอาการไอ-แน่นหน้าอก ตรวจการติดเชื้อ
‘ไวรัสโคโรนา’ ด้วยตัวเอง. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-กลั้น.
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ข่าวปลอม อย่าแชร์! ลือ เชื้อ COVID-19 อยู่ที่ลำาคอ 4 วันก่อนเข้าสู่ปอด
กลั้วคอด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือ ช่วยฆ่าเชื้อได้. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่า แชร์-ลือ-เช.
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ข่าวปลอม อย่าแชร์! “คนผ่านด่านตรวจ ไม่มีแมสปิดปาก จับปรับ 200 บาท” สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.antifakenewscenter.com/ข่าวปลอม-อย่าแชร์-คนผ่า.
สถานีวิทยุ จส.100. หยุดแชร์ได้แล้ว!ตร.จับคนร้ายขโมยรถหลังก่อเหตุในอ.ปากช่อง. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.js100.com/en/site/news/view/7836.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). แบบฝึกทักษะรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของ สกสค.
-
12177 ใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ /article-technology/item/12177-2021-06-17-03-57-45เพิ่มในรายการโปรด
-
คำที่เกี่ยวข้อง