ในที่ที่มีความเข้มแสงสูง พืชชนิดใดมีอัตราการตรึง CO
2
สุทธิสูงสุด
อ้อย
ถ้าความเข้มแสงเป็น 500 µmol m
-2
s
-1
อัตราการตรึง CO
2
สุทธิของอ้อยเป็นเท่าใด
25 µmol m
-2
s
-1
พืชชนิดใดเมื่อเพิ่มความเข้มแสงมากกว่า 500 µmol m
-2
s
-1
จะมีอัตราการตรึง CO
2
สุทธิคงที่
มะม่วง
ในช่วงความเข้มแสงใดเป็นปัจจัยจำ�กัดต่อการเจริญเติบโตของมะม่วง
0-500 µmol m
-2
s
-1
จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมว่า ค่าความเข้มแสงที่ทำ�ให้อัตราการตรึง CO
2
สุทธิคงที่นี้ เรียกว่า
จุดอิ่มตัวของแสง ซึ่งแม้ว่าจะเพิ่มความเข้มแสงอีกก็ไม่สามารถทำ�ให้อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงเพิ่ม
ขึ้นได้ แสดงว่าแสงไม่ใช่ปัจจัยจำ�กัดอีกต่อไป จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพิ่มเติม ดังนี้
ค่าความเข้มแสงเท่าใด มะม่วงจะมีอัตราการปล่อย CO
2
จากการหายใจระดับเซลล์เท่ากับ
อัตราการตรึง CO
2
จากการสังเคราะห์ด้วยแสง
ครูให้นักเรียนสังเกตเส้นกราฟ ณ จุดตัดบนแกน X ซึ่งมีค่าอัตราการตรึง CO
2
สุทธิเท่ากับ 0
แสดงว่าอัตราการปล่อย CO
2
จากการหายใจระดับเซลล์มีค่าเท่ากับอัตราการตรึง CO
2
ในการสังเคราะห์
ด้วยแสง เรียกค่าความเข้มแสงนี้ว่า ไลต์คอมเพนเซชันพอยต์
ครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวการตอบดังนี้
จากรูป 11.26 จุดอิ่มตัวของแสงของพืชทั้งสามชนิดมีค่าเท่าใด
จากกราฟสามารถระบุได้ว่า มะม่วงมีจุดอิ่มตัวของแสงที่ประมาณ 500 µmol m
-2
s
-1
และ
ข้าวมีจุดอิ่มตัวของแสงที่ 1,000 µmol m
-2
s
-1
ส่วนอ้อยจะมีจุดอิ่มตัวของแสงไม่น้อยกว่า
2,000 µmol m
-2
s
-1
ซึ่งข้อมูลที่ได้จากกราฟยังไม่สามารถระบุจุดอิ่มตัวของแสงที่แน่ชัดได้
เนื่องจากการทดลองนี้ใช้ความเข้มแสงเพียง 2,000 µmol m
-2
s
-1
เท่านั้น ซึ่งยังไม่สามารถระบุ
ได้ว่าอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของอ้อยจะคงที่หรือจะยังคงเพิ่มขึ้นอีก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง
ชีววิทยา เล่ม 3
213