Table of Contents Table of Contents
Previous Page  226 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 226 / 302 Next Page
Page Background

จากรูป 11.26 ไลต์คอมเพนเซชันพอยต์ของพืชทั้งสามชนิดมีค่าเท่าใด และเท่ากันหรือไม่

เพราะเหตุใด

ไลต์คอมเพนเซชันพอยต์ของอ้อยและข้าวมีค่าใกล้เคียงกันประมาณ 30 µmol m

-2

s

-1

ส่วน

ไลต์คอมเพนเซชันพอยต์ของมะม่วงมีค่าประมาณ 100 µmol m

-2

s

-1

จะเห็นว่าพืชแต่ละชนิด

อาจมีค่าไลต์คอมเพนเซชันพอยต์แตกต่างกัน เนื่องจากมีอัตราการหายใจระดับเซลล์และอัตรา

การสังเคราะห์ด้วยแสงที่แตกต่างกัน

จากนั้นครูให้นักเรียนร่วมกันสรุปความหมายของจุดอิ่มตัวของแสงและไลต์คอมเพนเซชันพอยต์

ด้วยคำ�พูดของนักเรียนเองและครูใช้คำ�ถามถามนักเรียนต่อไปว่า

นอกจากความเข้มแสงที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงแล้ว ทราบหรือไม่ว่ายัง

มีปัจจัยอื่นใดอีกบ้าง

ความเข้มข้นของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ครูทบทวนบทบาทของ CO

2

ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และให้นักเรียนศึกษารูป 11.27

ในหนังสือเรียนซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความเข้มข้นของ CO

2

ต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช และ

ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแล้วตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวการตอบ ดังนี้

ความเข้มข้นของ CO

2

ในอากาศที่เพิ่มมากขึ้น จะมีผลต่ออัตราการตรึง CO

2

สุทธิอย่างไร

จากกราฟแสดงให้เห็นว่า เมื่อความเข้มข้นของ CO

2

ต่ำ� เช่น ที่ 200 ppm อ้อยจะมีอัตราการ

ตรึง CO

2

สุทธิสูงกว่าข้าว แต่เมื่อความเข้มข้นของ CO

2

สูงขึ้นประมาณ 380 ppm อัตราการ

ตรึง CO

2

สุทธิของพืชทั้งสองชนิดจะใกล้เคียงกัน และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ CO

2

ให้สูงขึ้น

ไปอีก เช่น ตั้งแต่ 400 ppm ขึ้นไป จะพบว่าอัตราการตรึง CO

2

สุทธิของข้าวเพิ่มสูงกว่าอ้อย

และเมื่อดูจากกราฟแนวโน้มของการตรึง CO

2

สุทธิของข้าวจะเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 11 | การสังเคราะห์ด้วยแสง

ชีววิทยา เล่ม 3

214