Table of Contents Table of Contents
Previous Page  33 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 33 / 302 Next Page
Page Background

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของเมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์มีผลอย่างไรต่อลักษณะทางพันธุกรรม

ของพืชในรุ่นต่อไป

พืชรุ่นต่อไปจะมีลักษณะทางพันธุกรรมที่หลากหลาย เนื่องจากเมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์แบ่ง

เซลล์แบบไมโอซิสทำ�ให้เมกะสปอร์มีจำ�นวนโครโมโซมลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเมกะสปอร์แบ่งเซลล์

แบบไมโทซิสจะได้เซลล์ไข่ที่มีจำ�นวนโครโมโซม 1 ชุด (n) และเมื่อเกิดการปฏิสนธิจะได้ไซโกต

ที่มี 2n ซึ่งจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโอ

ถ้าเริ่มจากไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ 1 เซลล์และเมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ 1 เซลล์ เมื่อมีการ

สร้างสปอร์และพัฒนาไปเป็นแกมีโทโฟต์ จะได้เรณูและถุงเอ็มบริโอจำ�นวนเท่ากันหรือไม่

อย่างไร

ไม่เท่ากัน จะได้เรณู 4 อันและถุงเอ็มบริโอ 1 อัน เนื่องจากเมกะสปอร์สลายไป 3 เซลล์

เหลือเพียง 1 เซลล์ที่พัฒนาไปเป็นถุงเอ็มบริโอ

จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมว่าในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย คือเซลล์ไข่นั้น สร้างในออวุลซึ่ง

อยู่ในรังไข่ ส่วนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ในพืชบางชนิดอาจจะยังไม่สร้างในทันทีแต่ต้องมี

กระบวนการถ่ายเรณูก่อน

การถ่ายเรณูและการงอกของหลอดเรณู

ครูนำ�รูปพืชที่มีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอยู่ต่างดอกภายในต้นเดียวกัน เช่น ข้าวโพด

ปัตตาเวีย และฟักทอง หรือพืชที่ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้น เช่น สละ ตำ�ลึง และตาล มาให้

นักเรียนศึกษาแล้วถามนักเรียนว่า

เรณูจากเกสรเพศผู้จะมายังเกสรเพศเมียได้อย่างไร และพืชดอก

มีกระบวนการอย่างไรที่ทำ�ให้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้มีโอกาสมาผสมกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียได้

ซึ่ง

คำ�ตอบของนักเรียนอาจขึ้นอยู่กับพื้นฐานและประสบการณ์เดิมจากที่เคยเรียนมาแล้ว นักเรียนอาจ

ตอบได้ว่า การถ่ายเรณูในธรรมชาติอาจเกิดขึ้นโดยอาศัยลม น้ำ� แมลง หรือสัตว์อื่น ๆ เป็นตัวกลาง

ในการนำ�เรณูจากอับเรณูไปยังยอดเกสรเพศเมีย

พืชบางชนิดที่เป็นดอกสมบูรณ์เพศอาจผสมกันเองภายในดอกได้เนื่องจากตำ�แหน่งของเกสร

เพศผู้และเกสรเพศเมียมีความจำ�เพาะเหมาะสมกันที่จะเอื้อให้เรณูจากอับเรณูสามารถติดบนยอดเกสร

เพศเมียได้ อย่างไรก็ตามในดอกสมบูรณ์เพศ เกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียอาจจะเจริญไม่พร้อมกัน

ทำ�ให้การถ่ายเรณูเกิดจากต่างดอกกัน จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวการตอบ

ดังนี้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 8 | การสืบพันธุ์ของพืชดอก

ชีววิทยา เล่ม 3

21