นักเรียนคิดว่าการใช้สารฆ่าแมลงจะมีผลกระทบต่อการสืบพันธุ์ของพืชดอกอย่างไร และมี
ผลต่อเนื่องถึงมนุษย์ในด้านใดบ้าง จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
สารเคมีที่ใช้ฆ่าแมลงนั้น ส่วนใหญ่เป็นสารพิษที่เป็นอันตราย ถ้าใช้สารเคมีเหล่านั้นฉีดพ่น
ในสวนผลไม้หรือไม้ดอกจะทำ�ให้แมลงตาย และอาจทำ�ให้ผู้ฉีดสารฆ่าแมลงได้รับอันตราย
จากสารพิษ แมลงที่เป็นประโยชน์ที่ช่วยในการถ่ายเรณูจึงมีจำ�นวนลดน้อยลงทำ�ให้การถ่าย
เรณูเกิดขึ้นน้อย และสารพิษบางอย่างอาจจะตกค้างอยู่นานทำ�ให้สารพิษปะปนมากับผลไม้
มนุษย์ที่รับประทานผลไม้ก็จะได้รับสารพิษเข้าไปด้วย สารพิษบางอย่างเมื่อตกลงสู่พื้นดิน
จะสะสมอยู่ในดินเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในดินที่มีประโยชน์ เช่น ไส้เดือนดิน และจุลินทรีย์
ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ให้แก่พืช วิธีการแก้ปัญหาควรใช้สารฆ่าแมลงที่ได้จากพืช
เช่น สารที่สกัดจากใบสะเดา ตะไคร้หอม หรือใช้สารเคมีชนิดที่สลายตัวได้เร็ว
จากนั้นครูให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 8.2 เพื่อศึกษารูปร่างลักษณะของเรณูและการงอกของหลอดเรณู
จุดประสงค์
เพื่อศึกษารูปร่างลักษณะของเรณูและการงอกของหลอดเรณู
เวลาที่ใช้
(โดยประมาณ)
1 ชั่วโมง
วัสดุและอุปกรณ์
รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. ดอกชนิดต่าง ๆ
2. สารละลายน้ำ�ตาลกลูโคสความเข้มข้น 10%
3. กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงเชิงประกอบ
4. เข็มเขี่ย
5. ปากคีบ
6. สไลด์
7. กระจกปิดสไลด์
อย่างน้อยกลุ่มละ 2 ชนิด
1 ขวด
1 กล้อง
1 อัน
1 อัน
2 แผ่น
2 แผ่น
กิจกรรม 8.2 รูปร่างลักษณะของเรณูและการงอกของหลอดเรณู
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 8 | การสืบพันธุ์ของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
23