ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะของเรณูและการงอกของหลอดเรณู
นักเรียนควรสรุปได้ว่า เรณูของพืชต่างชนิดกันจะมีความแตกต่างกันทั้งขนาด รูปร่าง ลักษณะ และ
จำ�นวน บางชนิดมีผิวขรุขระ บางชนิดมีหนาม หรือปุ่มยื่นออกมา มีความเหนียวชื้น เมื่อตกบนยอด
เกสรเพศเมียแล้วจะไม่ปลิวไปตามลม ซึ่งเหมาะสมต่อการถ่ายเรณูไปบนยอดเกสรเพศเมีย อย่างไร
ก็ตามเรณูของพืชบางชนิดจะไม่งอกในสารละลายน้ำ�ตาลกลูโคส 10% จากนั้นครูอาจใช้คำ�ถามถาม
นักเรียนเพิ่มเติมว่า เรณูของพืชที่ไม่งอกในสารละลายน้ำ�ตาล 10% ถ้ามีการถ่ายเรณูในธรรมชาติ เรณู
นี้จะงอกหรือไม่ นักเรียนอาจตอบได้ว่า เรณูควรจะงอกได้ในธรรมชาติเนื่องจากสารละลายน้ำ�ตาล
กลูโคส 10% อาจจะไม่เหมาะสมต่อการงอกของหลอดเรณู แต่บนยอดเกสรเพศเมียจะมีของเหลวที่มี
องค์ประกอบอื่นๆ ที่กระตุ้นการงอกของหลอดเรณูได้
จากนั้นครูอธิบายว่า หลังการถ่ายเรณู เรณูจะงอกหลอดเรณูผ่านยอดเกสรเพศเมียแล้วผ่านก้าน
เกสรเพศเมียลงไปจนถึงรังไข่ สเปิร์มเซลล์ทั้ง 2 เซลล์จะเคลื่อนตามทิวบ์นิวเคลียสเข้าไปในหลอดเรณู
ซึ่งจะผ่านเข้าไปในออวุลทางไมโครไพล์ แล้วปล่อยสเปิร์มเข้าไปภายในถุงเอ็มบริโอเพื่อเกิดการปฏิสนธิ
ต่อไป
8.3.2 การปฏิสนธิ
ครูให้นักเรียนศึกษารูปที่ 8.12 การปฏิสนธิคู่ของพืชดอกและตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�เข้าไปสู่เรื่องการ
ปฏิสนธิคู่ว่า การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีกระบวนการอย่างไร ครูอาจตั้งคำ�ถาม
เพื่อนำ�ไปสู่การอภิปรายดังนี้
ใน 1 เรณูมีสเปิร์มนิวเคลียสจำ�นวนเท่าใด แต่ละนิวเคลียสมีโครโมโซมกี่ชุด
ใน 1 ถุงเอ็มบริโอมีเซลล์ไข่จำ�นวนเท่าใด และมีโครโมโซมกี่ชุด
จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า ใน 1 เรณูจะมีสเปิร์มนิวเคลียส 2 สเปิร์มนิวเคลียส และ
แต่ละสเปิร์มนิวเคลียสมีโครโมโซม 1 ชุด ส่วนเซลล์ไข่มีจำ�นวน 1 เซลล์และมีโครโมโซม 1 ชุด ครูถาม
คำ�ถามเพิ่มเติม ดังนี้
กระบวนการปฏิสนธิเกิดขึ้นที่ใด
ไซโกตเกิดได้อย่างไร และไซโกตมีโครโมโซมกี่ชุด
เอนโดสเปิร์มเกิดได้อย่างไร และมีโครโมโซมกี่ชุด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 8 | การสืบพันธุ์ของพืชดอก
ชีววิทยา เล่ม 3
26