Table of Contents Table of Contents
Previous Page  196 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 196 / 254 Next Page
Page Background

สาระสำ�คัญ

สิ่งมีชีวิตดำ�รงชีวิตอยู่ได้ต้องใช้พลังงานที่ได้จากกระบวนการเมแทบอลิซึม แต่กระบวนการ

ดังกล่าวทำ�ให้เกิดของเสียขึ้น โดยเฉพาะของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ซึ่งอยู่ในรูปของ

แอมโมเนีย ยูเรีย และกรดยูริก

สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีโครงสร้างหรืออวัยวะสำ�หรับกำ�จัดของเสียแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการ

และสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ เช่น ฟองน้ำ�และไฮดรามีการแพร่ของเสียผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ พลานาเรียมี

โพรโทเนฟริเดียม ไส้เดือนดินมีเมทาเนฟริเดียม แมลงมีมัลพิเกียนทิวบูล สัตว์มีกระดูกสันหลังและ

มนุษย์มีไตเป็นอวัยวะในระบบขับถ่ายที่ทำ�หน้าที่กำ�จัดของเสียและรักษาดุลยภาพของน้ำ�และสาร

ต่าง ๆ ในร่างกาย

ไตของมนุษย์ประกอบด้วยหน่วยไตที่ทำ�หน้าที่กำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบโดย

ผ่านกลไกการสร้างปัสสาวะซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ การกรอง การดูดกลับ และการหลั่ง นอกจากนี้ไตยัง

ทำ�หน้าที่รักษาดุลยภาพของน้ำ� ดุลยภาพของกรด-เบสในเลือด และดุลยภาพของแร่ธาตุในร่างกาย

อีกด้วย

ความผิดปกติที่เกิดกับไตของมนุษย์ เช่น โรคนิ่ว ภาวะไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง รวมทั้ง

โรคที่เกิดกับทางเดินปัสสาวะ หากไม่ป้องกันหรือรักษาย่อมส่งผลกระทบต่อการทำ�งานของไต

เวลาที่ใช้

บทนี้ควรใช้เวลาสอนประมาณ 9 ชั่วโมง

17.1 การขับถ่ายของสัตว์

2 ชั่วโมง

17.2 การขับถ่ายของมนุษย์

3 ชั่วโมง

17.3 การทำ�งานของหน่วยไต

2 ชัวโมง

17.4 ไตกับการรักษาดุลยภาพของน้ำ�และสารต่าง ๆ ในร่างกาย

1 ชั่วโมง

17.5 ความผิดปกติของระบบขับถ่าย

1 ชั่วโมง

รวม

9 ชั่วโมง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย

ชีววิทยา เล่ม 4

184