Table of Contents Table of Contents
Previous Page  200 / 254 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 200 / 254 Next Page
Page Background

สิ่งมีชีวิต

โครงสร้างหรือ

อวัยวะในการขับถ่าย

กระบวนการขับถ่าย

ชนิดของของเสีย

ที่ถูกกำ�จัดออก

ฟองน้ำ�

ไฮดรา

ไม่มี

การแพร่ออกจากเซลล์สู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง

แอมโมเนีย

พลานาเรีย โพรโทเนฟริเดียม ใช้ซิเลียที่เฟลมเซลล์โบกพัดทำ�ให้เกิดแรงดึงน้ำ�พร้อมของเสีย

ที่ละลายอยู่เข้าเฟลมเซลล์แล้วลำ�เลียงสู่ท่อรับของเหลว เพื่อไป

กำ�จัดออกที่ช่องเปิดที่ผนังลำ�ตัว

แอมโมเนีย

ไส้เดือนดิน เมทาเนฟริเดียม ใช้เนโฟรสโตมที่เป็นปลายเปิดของเมทาเนฟริเดียมรับของเสียที่

ละลายอยู่ในของเหลวภายในช่องลำ�ตัว แล้วลำ�เลียงออกสู่ช่องเปิด

ที่ผนังลำ�ตัว น้ำ�และแร่ธาตุบางชนิดที่มีประโยชน์จะถูกดูดกลับ

เข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด

แอมโมเนีย

ยูเรีย

แมลง

มัลพิเกียนทิวบูล ที่ปลายท่อของมัลพิเกียนทิวบูลจะรับของเสียจากของเหลวภายใน

ช่องของลำ�ตัว แล้วลำ�เลียงไปยังทางเดินอาหาร ซึ่งจะมีการดูดกลับ

น้ำ� และสารที่มีประโยชน์กลับเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ของเสีย

ที่เหลือซึ่งมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบจะเปลี่ยนเป็นกรดยูริก

ขับออกมาพร้อมกากอาหารทางทวารหนัก

กรดยูริก

ครูอาจใช้คำ�ถามถามนักเรียนเพิ่มเติม ดังนี้

เพราะเหตุใด ฟองน้ำ�และไฮดราจึงดำ�รงชีวิตอยู่ได้โดยไม่มีโครงสร้างที่ใช้ในการขับถ่าย

เพราะเซลล์ทุกเซลล์ของฟองน้ำ�และไฮดราสัมผัสกับน้ำ� จึงมีการขับถ่ายของเสียพวกแอมโมเนีย

ออกสู่น้ำ�ได้โดยตรง

จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้

จากตัวอย่างสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์กลุ่มใดที่สูญเสียน้ำ�ในการขับถ่ายของเสียน้อยที่สุด

เพราะเหตุใด

แมลงสูญเสียน้ำ�ในการขับถ่ายของเสียน้อยที่สุด เพราะแมลงขับของเสียในรูปของกรดยูริกที่ใช้

น้ำ�ปริมาณน้อยในการกำ�จัด เป็นการช่วยสงวนน้ำ�ไว้ในร่างกาย

สำ�หรับการกำ�จัดของเสียในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างสัตว์มีกระดูกสันหลัง

ที่นักเรียนรู้จัก เช่น สุนัข แมว ไก่ ปลา และระบุโครงสร้างที่สัตว์เหล่านั้นใช้ในการขับถ่ายของเสีย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย

ชีววิทยา เล่ม 4

188