ขุ่นได้เล็กน้อยจากการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากอวัยวะเพศ โดยปัสสาวะเกิดขึ้นจากการทำ�งานของไต
ในระบบขับถ่ายซึ่งทำ�หน้าที่กำ�จัดของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึม รักษาดุลยภาพของน้ำ�และสาร
ต่าง ๆ ในร่างกาย และรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในเลือด
จากนั้นครูทบทวนความรู้เกี่ยวกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายมนุษย์ โดยใช้คำ�ถาม
ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายดังนี้
ของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมของร่างกายมีอะไรบ้าง
สารใดที่ร่างกายมีการสะสมไว้ปริมาณมากแล้วจะเกิดอันตราย และร่างกายจะมีวิธีการ
จัดการกับสารดังกล่าวอย่างไร
จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่า กระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกายทำ�ให้เกิดของเสีย
ต่างๆ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ หากมีการสะสมไว้ใน
เซลล์จะทำ�อันตรายต่อเซลล์ได้ ร่างกายจึงต้องมีวิธีกำ�จัดออกนอกร่างกาย เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
กำ�จัดออกโดยการหายใจ ของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบกำ�จัดออกโดยไตในกระบวนการ
ขับถ่าย
ครูอาจใช้รูปกระบวนการสลายคาร์โบไฮเดรต ลิพิด และโปรตีน ในภาวะที่มีออกซิเจนเพียงพอ
(รูป 3.40 ในหนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 1) มาประกอบเพื่อให้นักเรียนเห็นว่าการสลาย
โปรตีนจะได้ แอมโมเนีย ยูเรีย และกรดยูริก
ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับของเสียที่ระบบขับถ่ายต้องกำ�จัดออกนอกร่างกายมนุษย์ โดยระบบ
ขับถ่ายของมนุษย์ทำ�หน้าที่กำ�จัดของเสียที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอลิซึมที่มีไนโตรเจนเป็น
องค์ประกอบซึ่งจะถูกขับถ่ายออกไปกับปัสสาวะ ส่วนกากอาหารที่เกิดจากการที่ร่างกายย่อยอาหาร
ไม่ได้หรือย่อยไม่หมดในระบบย่อยอาหารจะถูกกำ�จัดออกไปในรูปของอุจจาระ
สำ �หรับของเสียอื่น ๆ เช่น ยูเรียบางส่วนถูกกำ �จัดออกทางผิวหนังในรูปของเหงื่อ
แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกกำ�จัดออกโดยระบบหายใจ
จากนั้นครูอาจใช้คำ�ถามชวนคิด เพื่อให้นักเรียนแยกความแตกต่างระหว่างการขับถ่ายกับการ
ถ่ายอุจจาระ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย
ชีววิทยา เล่ม 4
191