จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างหรืออวัยวะในการกำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็น
องค์ประกอบ และร่วมกันอธิบายโดยใช้คำ�ถาม ดังนี้
อวัยวะที่ทำ�หน้าที่ในการกำ�จัดของเสียของสัตว์มีกระดูกสันหลังเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร
สัตว์มีกระดูกสันหลังมีการกำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบในรูปใดบ้าง
เพราะเหตุใด
จากการสืบค้นข้อมูลและการอธิบายนักเรียนควรได้ข้อสรุปว่า สัตว์มีกระดูกสันหลังมีไตเป็น
อวัยวะในระบบขับถ่ายที่ทำ�หน้าที่กำ�จัดของเสียเหมือนกัน แต่อาจมีรูปร่างและขนาดของไตแตกต่าง
กัน สัตว์มีกระดูกสันหลังจะขับของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบออกในรูปของแอมโมเนีย ยูเรีย
หรือกรดยูริกขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่อาศัย จากนั้นอาจให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิดในหนังสือเรียน
สัตว์กลุ่มเดียวกัน เช่น เต่าบกกับเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำ�จะมีการกำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจน
เป็นองค์ประกอบในรูปที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
แตกต่างกัน เพราะเต่าทั้ง 2 กลุ่มใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในแหล่งที่อยู่อาศัยไม่เหมือนกัน
โดยเต่าบกที่อาศัยบนบกต้องสูญเสียน้ำ�ให้น้อยที่สุดจึงต้องกำ�จัดของเสียในรูปของกรดยูริก
ส่วนเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำ�จะขับทั้งยูเรีย และแอมโมเนีย
ชวนคิด
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 17 | ระบบขับถ่าย
ชีววิทยา เล่ม 4
189