- การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบจากอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมมีอะไร
บ้าง ผลการศึกษาเป็นอย่างไร จะสามารถนำ�มาสรุปถึงความปลอดภัยหรืออันตรายของ
การบริโภคอาหารที่ผลิตจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมหรือไม่
- การระบุข้อมูลในฉลากดังกล่าวควรรวมสิ่งมีชีวิตที่สร้างโดยวิธีใดบ้าง ควรติดฉลากในทุก
กรณีหรือไม่ (สิ่งมีชีวิตที่มีการตัดต่อยีน และ/หรือ สิ่งมีชีวิตที่ได้จากการชักนำ�ให้เกิด
มิวเทชันโดยวิธีอื่น เช่น การฉายรังสี) ควรใช้มาตรฐานใดในการพิจารณา
- การติดฉลากจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงฉลากจะส่งผลต่อราคา
สินค้าที่จะกระทบประชาชนหรือไม่
- กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการระบุข้อมูลในฉลากในประเทศอื่นเป็นอย่างไร
มีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นบ้างจากการประกาศใช้
- ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการระบุข้อมูลในฉลากมากน้อยเพียงใด ต้องมีการให้
ความรู้เพิ่มเติมกับประชาชนด้วยหรือไม่
3. ตัวอย่างประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นโต้วาทีที่ 2 (ควรนำ�ยุงลายดัดแปรพันธุกรรมมาใช้
ควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในประเทศไทยหรือไม่) มีดังนี้
- ถ้านำ�ยุงลายดัดแปรพันธุกรรมมาใช้ในปริมาณมาก จะส่งผลกระทบต่อยุงหรือ
สิ่งมีชีวิตอื่น ๆในธรรมชาติ และจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรวมหรือไม่ อย่างไร
- ค่าใช้จ่ายในการซื้อยุง การปล่อยยุง และการติดตามเฝ้าระวังผลนั้นคุ้มค่าหรือไม่ และทำ�
อย่างไรจึงจะสัมฤทธิ์ผลในระยะยาว
- ประชาชนจะต่อต้านการนำ�ยุงลายดัดแปรพันธุกรรมมาใช้หรือไม่ ควรตัดสินใจโดยยึด
พื้นฐานอะไร
4. หลังจากการโต้วาที ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงข้อสนับสนุนและข้อคัดค้านของแต่ละ
ฝ่าย และร่วมกันสรุปประเด็นและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยทางชีวภาพ ชีวจริยธรรม
และผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
ในด้านต่าง ๆ
บทที่ 4 | พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
119
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี