แนวการจัดการเรียนรู้
ครูใช้ภาพนำ�ของหัวข้อ 4.5 ในหนังสือเรียน ซึ่งเป็นภาพลักษณะของหอยทากต้นไม้ เพื่อนำ�เข้าสู่
บทเรียนเรื่องวิวัฒนาการและความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต โดยให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับกรณีของ
หอยมรกตว่า
เพราะเหตุใดหอยมรกตที่เกาะตาชัยจึงพบเฉพาะที่มีเปลือกเวียนซ้ายเท่านั้น
จากนั้น
ครูเชื่อมโยงจากความรู้ที่ได้ศึกษาก่อนหน้าเกี่ยวกับการนำ�เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมาประยุกต์ใช้ซึ่งทำ�ให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยอาจให้นักเรียนยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะ
ทางพันธุกรรมใหม่ที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้กระทำ� ซึ่งนักเรียนได้ศึกษามาแล้วข้างต้น เช่น
- ต้นยาสูบที่ดัดแปรพันธุกรรมที่มียีนที่สังเคราะห์โปรตีนเรืองแสงของหิ่งห้อย
- แบคทีเรียที่ดัดแปรพันธุกรรมที่มียีนผลิตอินซูลินของมนุษย์
- ข้าวสีทองที่ดัดแปรพันธุกรรมที่มียีนสร้างวิตามินเอที่ได้จากต้นแดฟโฟดิล (daffodil)
- แซลมอนดัดแปรพันธุกรรมที่เจริญเติบโตเพิ่มขนาดได้เร็วกว่าแซลมอลในธรรมชาติ
ครูควรชี้ให้เห็นว่าการทำ�ให้สิ่งมีชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมอาจจะส่งผลให้สิ่งมีชีวิต
มีลักษณะใหม่ ทำ�ให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น และครูอธิบายเพิ่มเติมว่าในธรรมชาติก็มี
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเกิดขึ้นได้เองเช่นกัน และเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้เกิดความหลากหลาย
ทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต และตั้งประเด็นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า
ความหลากหลายทาง
พันธุกรรมจะส่งผลต่อความหลากหลายและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร
ครูให้นักเรียน
แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ และตรวจสอบความคิดของนักเรียนจากการศึกษาในหัวข้อต่อไป
4.5.1 ความหลากหลายทางพันธุกรรม
ครูใช้ภาพที่แสดงความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ต่าง ๆ ที่พบในธรรมชาติ
โดยอาจใช้รูป 4.19 และ 4.20 จากในหนังสือเรียน หรืออาจเตรียมได้จากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ และ
ตั้งประเด็นให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ดังนี้
•
สิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ในแต่ละภาพมีความคล้ายกันและมีความแตกต่างกันอย่างไร
จากการอภิปรายนักเรียนควรสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์มีลักษณะเฉพาะของตนเอง แต่สมาชิก
ในประชากรแต่ละสปีชีส์ยังมีลักษณะที่ปรากฏที่แตกต่างกัน จากนั้นใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกัน
อภิปรายต่อไป ดังนี้
บทที่ 4 | พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
121
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี