4.5.2 การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ครูอาจใช้ประเด็นคำ�ถามต่าง ๆ ในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียนอภิปรายและเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่อง
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ ดังนี้
การที่เสือโคร่งขาวเบงกอลมีสีขนที่แตกต่างไปจากเสือโคร่งเบงกอลทั่วไป ดังรูป 4.21 จะ
ส่งผลต่อการดำ�รงชีวิตในธรรมชาติหรือไม่ อย่างไร
สีขนของเสือโคร่งขาวเบงกอลอาจส่งผลต่อการดำ�รงชีวิตในธรรมชาติได้ เนื่องจากอาจทำ�ให้
เสือโคร่งขาวเบงกอลพรางตัวในธรรมชาติได้ไม่ดีเท่ากับเสือโคร่งเบงกอลทั่วไป ซึ่งส่งผลต่อ
การหลบซ่อนตัวจากศัตรู หรือการดักซุ่มเพื่อล่าเหยื่อ
ลักษณะที่แตกต่างกันของม้าในอดีตและม้าในปัจจุบัน ดังรูป 4.23 ส่งผลต่อการดำ�รงชีวิตใน
สภาพแวดล้อมแต่ละยุคสมัยหรือไม่ อย่างไร
ม้าในแต่ละยุคสมัยมีลักษณะที่แตกต่างกัน ซึ่งน่าจะส่งผลต่อการดำ�รงชีวิตของม้า เช่น ม้าใน
อดีตมีขนาดตัวเล็ก มีฟันที่เหมาะสำ�หรับการกินใบไม้ตามพุ่มไม้ และมีลักษณะนิ้วเท้าหลาย
นิ้วซึ่งเหมาะสำ�หรับการเดินบนพื้นดินที่อ่อนนุ่มในป่า ขณะที่ม้าในปัจจุบันมีขนาดตัวใหญ่ มี
ฟันที่เหมาะกับการกินหญ้าที่เหนียวกว่าใบไม้ และมีนิ้วเท้าเพียงนิ้วเดียวที่มีกีบขนาดใหญ่ซึ่ง
เหมาะแก่การวิ่งได้อย่างรวดเร็วในทุ่งหญ้า
•
ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกันในธรรมชาติเกิดขึ้น
ได้อย่างไร
จากการสืบค้นข้อมูลร่วมกับอภิปรายโดยใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาก่อนหน้า นักเรียนควรสรุปได้ว่า
สาเหตุหนึ่งของความหลากหลายทางพันธุกรรมมาจากการเกิดมิวเทชัน โดยครูควรเน้นให้นักเรียนเห็น
ว่าลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนี้จะสามารถถ่ายทอดต่อไปได้หากมิวเทชันเกิดขึ้นในเซลล์สืบพันธุ์ ครูอาจ
ยกตัวอย่างรูป 4.21 กรณีของเสือโคร่งขาวเบงกอลเพื่อแสดงให้เห็นมิวเทชันที่เกิดในธรรมชาติ
จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่านอกจากมิวเทชันแล้วความหลากหลายทางพันธุกรรมยังเป็นผลมาจาก
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วย โดยอาจให้นักเรียนสังเกตลักษณะของพี่น้องในครอบครัวของนักเรียน
หรือใช้รูป 4.22 ลูกสุนัขที่เกิดจากพ่อและแม่เดียวกัน หรือลักษณะลูกสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ที่เกิดจากพ่อ
และแม่เดียวกันซึ่งนักเรียนอาจเคยเลี้ยง
บทที่ 4 | พันธุกรรมและวิวัฒนาการ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
122
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี