Table of Contents Table of Contents
Previous Page  129 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 129 / 194 Next Page
Page Background

4.3 การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม

จุดประสงค์การเรียนรู้

อธิบายและยกตัวอย่างมิวเทชันและผลของมิวเทชันต่อการแสดงลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต

และยกตัวอย่างการนำ�มิวเทชันไปใช้ประโยชน์

ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยนำ�ภาพหรือวีดิทัศน์สั้น ๆ เกี่ยวกับการเกิดมะเร็งและการป้องกัน เช่น กรณี

ของมะเร็งผิวหนัง และใช้คำ�ถามนำ�เกี่ยวกับการที่รังสีอัลตราไวโอเลตเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งผิวหนัง

เพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องมิวเทชัน

ครูอธิบายและยกตัวอย่างมิวเทชันระดับยีน โดยใช้ตัวอย่างของมิวเทชันที่ทำ�ให้เกิดลักษณะทาง

พันธุกรรมที่ได้เรียนมา เช่น แอลลีลที่ทำ�ให้เกิดลักษณะเผือก (รูป 4.12 ในหนังสือเรียน) แอลลีลที่

ก่อให้เกิดโรคทาลัสซีเมีย อาจให้นักเรียนสืบค้นตัวอย่างเพิ่มเติมทั้งกรณีที่มิวเทชันทำ�ให้เกิดโรค ก่อให้

เกิดผลดี หรือไม่ส่งผลใด ๆ จากนั้นร่วมกันสรุปถึงผลของการเกิดมิวเทชัน โดยเขียนแผนภาพประกอบ

ครูยกตัวอย่างกรณีที่ยีนหรือส่วนของยีนเปลี่ยนแปลงไปที่เป็นผลจากมิวเทชันระดับโครโมโซม

(รูป 4.11 ในหนังสือเรียน) แล้วให้นักเรียนสืบค้นตัวอย่างเพิ่มเติมและร่วมกันอภิปราย

ครูอธิบายถึงการนำ�ความรู้เรื่องมิวเทชันไปใช้ในการป้องกันการเกิดมะเร็ง โดยอาจให้ข้อมูล

เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิดมะเร็งต่างชนิด แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงการนำ�ความรู้เรื่องมิวเทชัน

ไปใช้ในการรักษาสุขภาพ

จากนั้นครูอธิบายถึงการประยุกต์ใช้หลักการของมิวเทชันเพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตลักษณะใหม่และ

อาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลตัวอย่างเพิ่มเติม แล้วนำ�เสนอในรูปแบบที่น่าสนใจ เช่น “ตลาดมิวเทชัน”

ที่นักเรียนโฆษณาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยใช้หลักการของมิวเทชัน

ความเข้าใจคลาดเคลื่อน

ความเข้าใจที่ถูกต้อง

มิวเทชันก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งมีขีวิต

มิวเทชันอาจก่อให้เกิดผลดี ผลเสีย หรือไม่ส่งผลใด ๆ

ต่อสิ่งมีชีวิต

บทที่ 4 | พันธุกรรมและวิวัฒนาการ

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

115

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี