แนวการจัดการเรียนรู้
ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยใช้ภาพเหตุการณ์ที่ระบบนิเวศถูกรบกวนซึ่งนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงแทนที่
ทางนิเวศวิทยา และให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยครูใช้คำ�ถามนำ�ในการอภิปราย ดังนี้
•
จากภาพเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมีสาเหตุจากมนุษย์
•
หลังจากเหตุการณ์ในภาพ องค์ประกอบทางกายภาพและองค์ประกอบทางชีวภาพใน
บริเวณนั้นจะเป็นอย่างไร
จากการอภิปรายควรได้ข้อสรุปว่าระบบนิเวศอาจถูกรบกวนได้ตลอดเวลา ทั้งที่เกิดขึ้นเองตาม
ธรรมชาติและจากการกระทำ�ของมนุษย์ ซึ่งการรบกวนที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อองค์ประกอบทางกายภาพ
และองค์ประกอบทางชีวภาพในระบบนิเวศนั้น จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่าเมื่อสิ่งรบกวนเหล่านั้น
หมดไป ระบบนิเวศจะพยายามปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เรียกว่า
การเปลี่ยนแปลงแทนที่ทางนิเวศวิทยา
จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแทนที่ทางนิเวศวิทยา โดยอาจยก
ตัวอย่างเหตุการณ์โดยใช้รูป 5.12 และ 5.13 ในหนังสือเรียน หรือภาพของสถานที่เดียวกันในช่วงเวลา
ต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นลำ�ดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงแทนที่ทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
และจากการกระทำ�ของมนุษย์ และนำ�เข้าสู่การอภิปรายเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทาง
ด้านทักษะ
- การสังเกต การจัดกระทำ�และสื่อความหมายข้อมูล การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทัน
สื่อ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา การสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ
ความร่วมมือ การทำ�งานเป็นทีม และภาวะผู้นำ� จากการตอบคำ�ถาม การทำ�กิจกรรม
การสืบค้นข้อมูล และพฤติกรรมในการนำ�เสนอหน้าชั้นเรียน
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
-
การใช้วิจารณญาณ ความใจกว้าง และความซื่อสัตย์ จากการทำ�กิจกรรม การตอบคำ�ถาม
และพฤติกรรมในการนำ�เสนอหน้าชั้นเรียน
5.1.2 การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ
บทความบทที่ 5 | ชีวิตในสิ่งแวดล้อม
วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
147
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี