ครูอาจเชื่อมโยงความรู้เรื่องการดูดกลับและการหลั่งกับการลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ที่
นักเรียนได้ศึกษามาจากบทที่ 1 เรื่อง การลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ เช่น การดูดกลับน้ำ�เป็นการ
ลำ�เลียงแบบออสโมซิส การดูดกลับกรดแอมิโน กลูโคส โซเดียมไอออน ไฮโดรเจนไอออน เป็นการ
ลำ�เลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต เป็นต้น
การรักษาดุลยภาพของน้ำ�ในร่างกาย
ครูใช้คำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงไปถึงการรักษาดุลยภาพของน้ำ�ในร่างกาย
ดังนี้
•
ร่างกายรู้ได้อย่างไรว่าปริมาณน้ำ�ที่รับเข้าและขับออกมีเท่าใดจึงจะรักษาดุลยภาพของน้ำ�
ในร่างกายได้
นักเรียนอาจตอบว่าเมื่อปริมาณน้ำ�ในร่างกายลดลงจะเกิดการกระหายน้ำ� และเมื่อปริมาณน้ำ�ใน
ร่างกายมากกว่าปกติจะปัสสาวะออกไป ซึ่งครูจะยังไม่สรุปการอภิปราย จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้น
ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาดุลยภาพของน้ำ�ในร่างกาย และทำ�กิจกรรม 2.1 เรื่อง การรักษาดุลยภาพของ
ของเหลวในร่างกายในหนังสือเรียน
กิจกรรม 2.1 การรักษาดุลยภาพของของเหลวในร่างกาย
จุดประสงค์
อธิบายกลไกการรักษาดุลยภาพของของเหลวในร่างกายและแปลผลการทดลองได้
อย่างมีเหตุผล
เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ)
30
นาที
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
30
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ