Table of Contents Table of Contents
Previous Page  48 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 48 / 194 Next Page
Page Background

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายกลไกการรักษาดุลยภาพของกรด-เบสของเลือดโดยการทำ�งานของไตและปอด

2. สืบค้นข้อมูล อธิบายสาเหตุ และแนวทางป้องกันหรือรักษาโรคไตและโรคที่เกี่ยวกับทางเดิน

ปัสสาวะ

แนวการจัดการเรียนรู้

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยทบทวนกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์ เช่น การหายใจ

ระดับเซลล์ การสลายสารอาหารต่าง ๆ เพื่อให้ได้พลังงานซึ่งล้วนเป็นกระบวนการเมแทบอลิซึมที่ต้อง

อาศัยเอนไซม์ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี เอนไซม์เป็นโปรตีน โดยเอนไซม์แต่ละชนิดจะทำ�งานได้ดีขึ้นอยู่

กับปัจจัยต่าง ๆ แล้วครูใช้คำ�ถามว่า

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการทำ�งานของเอนไซม์

จากนั้นให้นักเรียน

ศึกษารูป 2.8 กราฟแสดงอัตราการทำ�งานของเอนไซม์เพปซินและเอนไซม์อะไมเลสที่ค่า pH ต่าง ๆ

แล้วตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน

เอนไซม์อะไมเลสสามารถทำ�งานได้ดีที่สุดที่ค่า pH ใด

pH 7

จงอธิบายอัตราการทำ�งานของเอนไซม์เพปซินและเอนไซม์อะไมเลส

เอนไซม์เพปซินเป็นเอนไซม์ที่ทำ�งานได้ดีที่สุดที่ค่า pH 2 หากค่า pH เพิ่มขึ้นการทำ�งานจะ

ลดลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถทำ�งานได้ ส่วนเอนไซม์อะไมเลสที่ได้จากน้ำ�ลายจะทำ�งานได้ดีที่สุด

ที่ค่า pH 7 หากค่า pH เพิ่มขึ้นหรือลดลงการทำ�งานของเอนไซม์อะไมเลสจะค่อย ๆ ลดลง

ครูอธิบายเพิ่มเติมว่ากระบวนการเมแทบอลิซึมจะเกิดขึ้นได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการทำ�งานของ

เอนไซม์ โดยอัตราการทำ�งานของเอนไซม์แต่ละชนิดยังขึ้นอยู่กับความเป็นกรด-เบสที่เหมาะสมต่อการ

ทำ�งาน จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาสมการการเกิดปฏิกิริยาของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ�ใน

เลือดที่ทำ�ให้เกิดไฮโดรเจนไอออน (H

+

) ในหนังสือเรียน โดย H

+

ที่เกิดขึ้นนี้ทำ�ให้ค่าความเป็นกรด-เบส

ในเลือดเปลี่ยนแปลงไป หลังจากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายโดยใช้คำ�ถามดังนี้

2.2 การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสของเลือด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

34

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ