การควบคุมดุลยภาพของกรด - เบสของเลือดโดยการทำ�งานของปอด
ครูทบทวนความรู้เรื่องการหายใจของมนุษย์โดยอาจใช้วีดิทัศน์เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด
แล้วใช้คำ�ถาม ดังนี้
•
การแลกเปลี่ยนแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์กับแก๊สออกซิเจนเกิดขึ้นที่อวัยวะใด และบริเวณใด
เกิดขึ้นที่ปอด บริเวณถุงลมปอด
ครูอาจให้นักเรียนทำ�การทดลองโดยการกลั้นหายใจให้ได้นานที่สุด แล้วใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียน
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นดังนี้
•
เหตุใดนักเรียนจึงกลั้นหายใจไม่ได้นาน
ขณะที่กลั้นหายใจปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายจะสูงขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่ร่างกาย
ทนไม่ได้ ทำ�ให้ต้องหายใจออกเพื่อนำ�แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายและหายใจเอา
แก๊สออกซิเจนเข้าไป โดยการตอบสนองนี้เป็นกลไกที่อยู่นอกเหนืออำ�นาจจิตใจ จึงไม่สามารถ
กลั้นหายใจได้นาน
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการควบคุมดุลยภาพของกรด-เบสของเลือดโดยการทำ�งาน
ของปอดจากหนังสือเรียนหรือแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ แล้วให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันโดยใช้คำ�ถามดังนี้
•
การหายใจช่วยในการรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในเลือดได้อย่างไร
จากการอภิปรายนักเรียนควรได้ข้อสรุปว่าการหายใจช่วยรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในเลือดได้
ดังนี้
ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หรือไฮโดรเจนไอออนสะสมอยู่ในเลือดมากจะส่งผลให้เลือดมี
ความเป็นกรดเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะส่งสัญญาณไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจที่สมอง ทำ�ให้
เพิ่มอัตราการหายใจเพื่อขับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอดเร็วขึ้น แต่ถ้าเลือดเป็นเบส
อัตราการหายใจจะลดลงเพื่อเพิ่มปริมาณไฮโดรเจนไอออนให้สูงขึ้นโดยการสะสมคาร์บอนไดออกไซด์
ในเลือด ทำ�ให้ความเป็นกรด-เบสของเลือดเข้าสู่ภาวะสมดุล
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
36
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ