ครูเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของนักเรียน เช่น การออกกำ�ลังกายอย่างหนักทำ�ให้มีเหงื่อออกจำ�นวน
มาก หรือการอยู่ในห้องปรับอากาศแล้วปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เพื่อให้นักเรียนอธิบายกลไกการรักษา
ดุลยภาพของน้ำ�เมื่ออยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว
ครูอาจเสริมความรู้เรื่อง โรคเบาจืด เพื่อให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำ�คัญของ ADH ต่อการรักษา
ดุลยภาพของน้ำ�ในร่างกายยิ่งขึ้น
ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
โรคเบาจืด (Diabetes insipidus) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก
ในแต่ละครั้ง ผู้ที่มีอาการของโรคนี้จะเสียน้ำ�มากและกระหายน้ำ�ตลอดเวลา ถ้าดื่มน้ำ�ทดแทน
ไม่ทันจะเกิดภาวะขาดน้ำ� (dehydration) ทำ�ให้มีอาการอ่อนเพลีย ความดันเลือดลดลง
อาจถึงขั้นหมดสติช็อคและอาจเสียชีวิตได้
สาเหตุของโรคนี้เนื่องจากร่างกายขาด ADH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์ในสมองส่วน
ไฮโพทาลามัส และหลั่งโดยต่อมใต้สมองส่วนหลัง ฮอร์โมนนี้มีหน้าที่กระตุ้นให้ท่อขดส่วน
ท้าย (distal convoluted tubule) ของหน่วยไตและท่อรวม (collecting duct) ดูดกลับน้ำ�
เข้าหลอดเลือด ดังนั้นเมื่อขาดฮอร์โมนนี้จึงทำ�ให้น้ำ�ไม่ถูกดูดกลับเข้าหลอดเลือด จึงขับถ่าย
ปัสสาวะมากและเจือจาง
สำ�หรับสาเหตุของการขาด ADH หรือ ADH หลั่งออกมาน้อย อาจเกิดจากความผิดปกติ
ของต่อมใต้สมองส่วนหลัง เช่น เนื้องอกในสมองบางชนิดไปกดบริเวณต่อมใต้สมอง ทำ�ให้
ไม่สามารถหลั่งฮอร์โมนนี้ได้ อีกสาเหตุหนึ่งคือ ไตผิดปกติ ไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมน
นี้ได้ ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่แรกเกิด หรือเกิดจากยาหรือสารบางชนิดไปรบกวนการทำ�งานของไต
ทำ�ให้ไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนได้
เฉลยตรวจสอบความเข้าใจ
ระบบใดบ้างของร่างกายที่ทำ�หน้าที่ประสานกันเพื่อรักษาปริมาณน้ำ�ในร่างกายให้
สมดุล
ระบบขับถ่าย ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ (ฮอร์โมน)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
32
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ