เส้นกราฟ I สอดคล้องกับรูป ก.
เมื่อไม่มีตัวยับยั้งเอนไซม์ ดังรูป ก. อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะสูงที่สุดดังเส้นกราฟ I
เส้นกราฟ II สอดคล้องกับรูป ค.
เมื่อมีตัวยับยั้งแบบแข่งขันซึ่งจะมาแย่งจับกับเอนไซม์ที่บริเวณเร่ง ดังรูป ค. ในช่วงที่ยังคง
มีความเข้มข้นของสารตั้งต้นน้อย อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นได้ช้า เพราะตัวยับยั้ง
มาแย่งจับ แต่เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นขึ้นไปเรื่อยๆ ตัวยับยั้งที่มีปริมาณเท่าเดิม
จะมีโอกาสจับกับเอนไซม์ได้น้อยลง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีจึงเพิ่มขึ้น ถ้าความเข้มข้น
ของสารตั้งต้นมากพอ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีก็จะเท่าเดิมได้ ดังเส้นกราฟ II
เส้นกราฟ III สอดคล้องกับรูป ข.
เมื่อมีตัวยับยั้งแบบไม่แข่งขันซึ่งจะจับกับบริเวณอื่นๆ ของเอนไซม์ ดังรูป ข. ทำ�ให้โครงสร้าง
ของบริเวณเร่งของเอนไซม์บางโมเลกุลที่ถูกจับเปลี่ยนไป ปริมาณเอนไซม์ที่สามารถ
ทำ�ปฏิกิริยาได้ลดลง ดังนั้นถึงแม้ว่าจะเพิ่มความเข้มข้นของสารตั้งต้นมากขึ้น อัตรา
การเกิดปฏิกิริยาเคมีจะไม่เพิ่มสูงมากเท่าที่ควรจะเป็น ดังเส้นกราฟ III
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
146