Table of Contents Table of Contents
Previous Page  179 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 179 / 284 Next Page
Page Background

ร่วมกันสรุปความแตกต่างระหว่างการปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิม การปรับปรุงพันธุ์แบบดั้งเดิมที่ใช้

เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก การใช้มิวทาเจน และการสร้าง GMO ซึ่งควรได้ข้อสรุป

ดังตาราง

การปรับปรุงพันธุ์

แบบดั้งเดิม

การปรับปรุงพันธุ์

แบบดั้งเดิม +

การใช้เครื่องหมาย

โมเลกุล

การใช้มิวทาเจน +

การใช้เครื่องหมาย

โมเลกุล

การสร้าง GMO +

การใช้เครื่องหมาย

โมเลกุล

ใช้ระยะเวลานานเนื่องจาก

- ต้องรอให้สิ่งมีชีวิตแต่ละ

รุ่นเจริญเติบโตและแสดง

ลักษณะที่ต้องการก่อนจะ

นำ�ไปผสมรุ่นต่อไป

- ต้องผ่านการผสมหลาย

ชั่วรุ่นจึงจะได้สิ่งมีชีวิตที่มี

ลักษณะตามที่ต้องการทั้ง

ลักษณะเดิมของพันธุ์ที่

ปลูกเพื่อการค้าและ

ลักษณะที่ต้องการ

ปรับปรุง

ใช้ระยะเวลาสั้นลง

เนื่องจากสามารถ

ตรวจสอบได้จาก DNA

โดยตรง ไม่ต้องตรวจสอบ

ลักษณะที่ต้องการในทุกรุ่น

แต่ยังคงต้องผ่านการผสม

หลายชั่วรุ่นเพื่อให้ได้

สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะตามที่

ต้องการทั้งลักษณะเดิมของ

พันธุ์ที่ปลูกเพื่อการค้าและ

ลักษณะที่ต้องการปรับปรุง

ใช้เวลาน้อย สามารถได้

สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่

ต้องการภายใน 2-3 รุ่น

ใช้เวลาน้อย สามารถได้

สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่

ต้องการภายใน 2-3 รุ่น

ต้องเป็นลักษณะที่พบใน

สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน

นั่นคือสามารถผสมกับ

สิ่งมีชีวิตที่ต้องการได้

ต้องเป็นลักษณะที่พบใน

สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน

นั่นคือสามารถผสมกับ

สิ่งมีชีวิตที่ต้องการได้

มักเป็นลักษณะที่เกิดขึ้น

แบบสุ่ม

เป็นลักษณะที่พบใน

สิ่งมีชีวิตสปีชีส์เดียวกัน

หรือต่างสปีชีส์กันก็ได้

ครูยกตัวอย่างการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม เช่น

การใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเนยแข็งหรือชีส จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพื่อยกตัวอย่างการใช้

สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมในอุตสาหกรรม และสรุปร่วมกันว่าการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม

สามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรรมได้เช่นเดียวกัน โดยอาจเป็นการสร้างสารที่นำ�มาใช้ใน

กระบวนการผลิต จากนั้นครูอาจยกตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น ด้าน

สิ่งแวดล้อม มีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้แบคทีเรียดัดแปรพันธุกรรมเพื่อย่อยน้ำ�มันที่ปนเปื้อนใน

แหล่งน้ำ� ย่อยขยะที่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติก การใช้ยีสต์ดัดแปรพันธุกรรมเพื่อเปลี่ยนโลหะหนักที่

ปนเปื้อนในแหล่งน้ำ�หรือดินให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เป็นต้น ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอน

การศึกษา

ระยะเวลา

ลักษณะที่ต้องการ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

167