Table of Contents Table of Contents
Previous Page  178 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 178 / 284 Next Page
Page Background

6.3.2 ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม

ครูนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยอาจยกตัวอย่างการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องใช้การผสม

ระหว่างพันธุ์ปลูกเพื่อการค้ากับพันธุ์ที่มีลักษณะที่ต้องการหลาย ๆ รุ่น และใช้เวลาในการตรวจสอบ

ลักษณะในแต่ละรุ่นนานเนื่องจากต้องรอให้ต้นข้าวแสดงลักษณะที่ต้องการตรวจสอบก่อน เช่น

ความเหนียวของเมล็ดข้าวหุงสุก ความหอมของเมล็ดข้าว ปริมาณผลผลิต ความสูงของต้น

การต้านทานโรค การทนเค็ม

ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลการนำ�เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช

และสัตว์โดยการใช้เครื่องหมายโมเลกุล โดยอาจศึกษาจากตัวอย่างการปรับปรุงพันธุ์ข้าวขาวมะลิเพื่อ

ให้มีลักษณะทนเค็มจากรูป 6.16 ในหนังสือเรียน และการสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมโดยอาจ

ศึกษาจากตัวอย่างการสร้างต้นกุหลาบดอกสีน้ำ�เงินจากรูป 6.17 ในหนังสือเรียน จากนั้นครูและนักเรียน

ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ครีมบำ�รุงผิวหน้าที่มีการโฆษณาว่ามีส่วนประกอบของชิ้นส่วน

DNA ซึ่งมีขนาดเล็ก สามารถซึมเข้าสู่เซลล์ และทำ�ให้เซลล์สามารถซ่อมแซม DNA ได้

อย่างรวดเร็ว นักเรียนคิดว่าข้อความในโฆษณาดังกล่าวมีความเป็นไปได้เพียงใด

จากเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอในปัจจุบันยังไม่น่าเป็นไปได้ เนื่องจาก

1. DNA เป็นสารโมเลกุลใหญ่ และมีสมบัติเป็นสารมีขั้ว ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์

เพื่อเข้าสู่นิวเคลียส และไปยังโครโมโซมได้

2. ถึงแม้ DNA ที่ถูกใส่เข้าไปอาจจะผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ แต่เซลล์มีกลไกในการทำ�ลาย

DNA แปลกปลอม

3. ถึงแม้ DNA ที่ถูกใส่เข้าไปจะไม่ถูกทำ�ลายโดยกลไกภายในเซลล์ แต่เฉพาะ DNA ไม่

สามารถที่จะซ่อมแซม DNA ของเซลล์ได้

4. ถึงแม้ DNA ที่ถูกใส่เข้าไปจะสามารถซ่อมแซม DNA ของเซลล์ได้ แต่ก็ไม่สามารถ

กำ�หนดจุดหรือบริเวณจำ�เพาะในการซ่อมแซมได้

การจะนำ�ชิ้นส่วนของ DNA เข้าสู่เซลล์และเข้าสู่นิวเคลียสจนถึงการซ่อมแซม DNA

ดั้งเดิมภายในเซลล์ได้นั้นจึงต้องอาศัยวิธีการหรือตัวพาที่จำ�เพาะ เช่น การใช้ไวรัส

การใช้กระแสไฟฟ้า ดังนั้นความเป็นไปได้ที่ DNA ที่ผสมอยู่ในครีมจะสามารถทำ�ได้

ตามที่กล่าวอ้างนั้นจึงต่ำ�มาก

ชวนคิด

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

166