Table of Contents Table of Contents
Previous Page  177 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 177 / 284 Next Page
Page Background

ครูอาจตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า

การรักษาโรคโดยการบำ�บัดด้วย

ยีนจะใช้ได้กับโรคที่มีลักษณะอย่างไร

จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการรักษาโดย

เทคนิคการบำ�บัดด้วยยีน ซึ่งควรได้ข้อสรุปว่า เป็นการรักษาโรคทางพันธุกรรมรวมถึงอาการผิดปกติ

ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากยีน โดยการถ่ายแอลลีลที่ปกติเข้าสู่เซลล์หรือเนื้อเยื่อที่แสดงอาการผิดปกติ เพื่อให้

ยีนนั้นแทรกเข้าสู่จีโนมของมนุษย์และควบคุมให้มีการแสดงออกและสร้างโปรตีนที่ปกติ

นอกจากนี้ครูอาจขยายความรู้เพิ่มเติมให้นักเรียน โดยยกตัวอย่างเทคโนโลยีอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้น

ปัจจุบัน เช่น

- การใช้พันธุวิศวกรรม มีการทดลองใช้รักษาทารก 2 คน ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ชนิดหนึ่งซึ่งการรักษาด้วยเคมีบำ�บัด (chemotherapy) ไม่ประสบความสำ�เร็จและ

จะรับการถ่ายเซลล์เม็ดเลือดขาวจากผู้บริจาค ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกัน

ของผู้ป่วยเกิดการต่อต้านเซลล์ของผู้บริจาค จึงใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมมาปรับแต่ง

เซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้บริจาคให้เข้ากับทารกทั้งสอง ก่อนจะถ่ายเข้าสู่ร่างกายของทารก

ซึ่งพบว่าผลการรักษาประสบความสำ�เร็จและยังมีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

- การรักษาโรคด้วยการตรวจแก้จีโนม ซึ่งมีทั้งเพิ่มระดับการแสดงออกของยีน ยับยั้ง

การแสดงออกของยีน การนำ�ยีนที่มีอยู่เดิมออก และการใส่ยีนใหม่ที่ต้องการลงไปในจีโนม

ของสิ่งมีชีวิต โดยหนึ่งในเทคนิคที่มีการศึกษาอยู่ คือ CRISPR-Cas9 (Clustered Regularly

Interspaced Short Palindromic Repeats - Cas9 protein) ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถระบุ

บริเวณในจีโนมที่ต้องการปรับแต่งยีนได้ โดยเทคนิคดังกล่าวถูกนำ�มาใช้รักษาผู้ป่วย

โรคมะเร็งปอด ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับผลการรักษา (3 ก.พ. 2560) แต่ก็ถือได้ว่า

เป็นพัฒนาการด้านหนึ่งของการนำ�เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคใน

มนุษย์

จากนั้นให้นักเรียนตอบคำ�ถามชวนคิดในหนังสือเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ

ชีววิทยา เล่ม 2

165