ระบุลำ�ดับเบสในแต่ละซ้ำ�ของ STR และจำ�นวนซ้ำ�ของ STR ในบุคคลหนึ่งจากข้อมูลต่อไปนี้
ลงในตารางด้านล่าง
โครโมโซม ลำ�ดับเบสในแต่ละซ้ำ�ของ
STR
จำ�นวนซ้ำ�ของ STR
แอลลีลที่ 1
แอลลีลที่ 2
คู่ที่ 1
GGA
6
11
คู่ที่ 2
ACGCT
6
6
จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลการวิเคราะห์ STR จากในหนังสือเรียน โดยครูอาจอธิบายเพิ่ม
โดยใช้รูป 6.20 ในหนังสือเรียน เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า STR คือบริเวณที่มีการซ้ำ�กันของลำ�ดับเบสสั้นๆ
ต่อเนื่องกัน พบกระจายทั่วไปในจีโนมของสิ่งมีชีวิต การวิเคราะห์ STR คือการตรวจหาจำ�นวนซ้ำ�ของ
STR ในแต่ละตำ�แหน่ง ซึ่ง STR ในตำ�แหน่งเดียวกันจะมีความยาวต่างกันในแต่ละแอลลีล เมื่อทำ� PCR
เพื่อตรวจสอบ STR ในหลายๆ ตำ�แหน่งจะทำ�ให้เกิดเป็นรูปแบบเฉพาะบุคคล เรียกว่า ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
ซึ่งสามารถนำ�มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ได้ แล้วให้นักเรียนศึกษาตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก
หนังสือเรียน โดยครูอาจให้นักเรียนอภิปรายถึงเหตุผลหรือความจำ�เป็นของการใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
ตามตัวอย่างในหนังสือเรียน ซึ่งควรได้ข้อสรุปดังนี้
-
ใช้ระบุตัวบุคคล
เนื่องจากแต่ละบุคคลจะมีรูปแบบของลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่แตกต่างกัน
ออกไป ดังนั้นในการระบุตัวตนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ยากต่อการระบุตัวตนด้วยวิธีอื่น
เช่น เครื่องบินตกหรือไฟไหม้ หรือการระบุผู้กระทำ�ความผิดในคดีฆาตกรรมโดยอาศัย
การตรวจวัตถุพยานทางชีววิทยา เช่น เส้นผม คราบอสุจิ คราบเลือด การใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ
จะทำ�ให้ระบุตัวบุคคลได้ถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น
-
ใช้ระบุตัวตนของสิ่งมีชีวิต
เนื่องจากสัตว์แต่ละตัวจะมีรูปแบบของลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่
แตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกับมนุษย์ ดังนั้นในการระบุตัวสัตว์ที่แต่เดิมใช้การดูจากลักษณะ
ภายนอกหรือตำ�หนิต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงและยากต่อการสังเกต การใช้
ลายพิมพ์ดีเอ็นเอจะทำ�ให้สามารถระบุตัวสัตว์ได้อย่างถูกต้อง จึงใช้ในการขึ้นทะเบียนสัตว์
เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์โดยสัตว์ชนิดเดียวกันจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไม่ถูกกฎหมายได้ เช่น
ป้องกันการนำ�ช้างป่าหรือช้างที่นำ�มาจากแหล่งอื่นมาสวมสิทธิ์ว่าเป็นช้างบ้านซึ่งขึ้นทะเบียน
ถูกต้องตามกฎหมาย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
ชีววิทยา เล่ม 2
169