6.3.3 ด้านนิติวิทยาศาสตร์
ครูนำ�ภาพข่าวการใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอหรือการใช้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอเป็นหลักฐานประกอบ
การพิจารณาคดี เช่น การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด การพิสูจน์ผู้ต้องสงสัยในคดีฆาตกรรม หรือ
การตรวจพิสูจน์เพื่อระบุตัวตนผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติ
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลการนำ�องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ประโยชน์ในเชิงกฎหมาย
โดยเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอเป็นอีกหนึ่งในองค์ความรู้ที่ถูกนำ�มาใช้ในการตรวจวัตถุพยานทางชีววิทยา
เช่น การตรวจเส้นผม คราบอสุจิ คราบเลือด ซึ่งในการพิสูจน์บางอย่างอาจไม่สามารถใช้เพียงข้อมูล
ทาง DNA พิสูจน์ได้โดยสิ้นเชิง อาจต้องใช้หลักฐานอื่นๆ ประกอบด้วย จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล
เพื่อตอบคำ�ถามชวนคิดในหนังสือเรียน
ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูล STR ซึ่งครูอาจอธิบายเพิ่มโดยใช้รูป 6.19 ในหนังสือเรียน และตอบ
คำ�ถามในหนังสือเรียนซึ่งมีแนวคำ�ตอบดังนี้
น้ำ�ลาย อสุจิ เส้นผม เส้นขน และเล็บสามารถนำ�มาเป็นวัตถุพยานทางชีววิทยา เพื่อใช้
ในการระบุบุคคลได้หรือไม่
ได้ทั้งหมด โดยในน้ำ�ลายมีเซลล์ที่หลุดออกมาจากเนื้อเยื่อในบริเวณช่องปากซึ่งสามารถ
นำ�มาสกัดหา DNA ได้ ในส่วนของอสุจินั้นสามารถสกัด DNA ได้จากนิวเคลียส ในส่วน
ของเส้นผมและเส้นขนนั้นสามารถตรวจหา DNA ได้จากเซลล์ราก นอกจากนี้ในส่วน
ของเส้นผมหรือเส้นขนที่ไม่มีเซลล์รากก็สามารถสกัด DNA ได้เช่นกัน แต่ DNA ในบริเวณ
ดังกล่าวจะมีปริมาณน้อย และแตกหักไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกับในส่วนของเล็บ
ชวนคิด
บทความ บทความสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 6 | เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
ชีววิทยา เล่ม 2
168