รหัสพันธุกรรม
ครูตั้งคำ�ถามเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลว่า
จากกระบวนการถอดรหัสทำ�ให้ได้ mRNA แล้ว
mRNA จะเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนอย่างไร
จากนั้นให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับ
รหัสพันธุกรรม
ครูอาจใช้รูปโครงสร้างของ DNA จากหนังสือเรียน หรือแบบจำ�ลองโครงสร้างของ DNA เพื่อ
เน้นให้นักเรียนเห็นว่าความแตกต่างของโมเลกุล DNA อยู่ที่จำ�นวนและลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ใน DNA
จากนั้นให้นักเรียนวิเคราะห์ว่า
ส่วนใดของ DNAที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรมและถ่ายทอดให้mRNA
ซึ่งไปกำ�หนดชนิดของกรดแอมิโนในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
นักเรียนควรตอบได้ว่า ลำ�ดับ
นิวคลีโอไทด์ของ DNA เป็นข้อมูลทางพันธุกรรมที่ถอดรหัสให้ mRNA
ครูอาจให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ความแตกต่างของนิวคลีโอไทด์เนื่องมาจากเบสที่เป็นองค์ประกอบ
ดังนั้นลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ในสาย DNA และ RNA จึงอาจเรียกแทนว่า ลำ�ดับนิวคลีโอไทด์หรือลำ�ดับเบส
ครูควรเน้นให้นักเรียนสรุปประเด็นสำ�คัญได้ว่า ลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ของ DNA จะกำ�หนดลำ�ดับ
นิวคลีโอไทด์ของ mRNA และลำ�ดับนิวคลีโอไทด์ของ mRNA จะกำ�หนดชนิดและการเรียงตัวของกรด
แอมิโน จากนั้นครูตั้งคำ�ถามเพิ่มเติมเพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลและการอภิปรายว่า
การเรียงลำ�ดับ
ของนิวคลีโอไทด์ในmRNA จำ�นวนเท่าใดจึงเป็น 1 รหัสพันธุกรรมเพื่อกำ�หนดกรดแอมิโน 1 ชนิด
ถ้ามีนิวคลีโอไทด์ 1 โมเลกุลเป็นรหัสกำ�หนดกรดแอมิโน1 ชนิด จะได้กรดแอมิโนกี่ชนิด
ซึ่งนักเรียน
ควรตอบได้ว่า 4 ชนิด เนื่องจาก DNA มีนิวคลีโอไทด์ 4 ชนิด
จากนั้นครูอาจให้นักเรียนแบ่งกลุ่มทำ�กิจกรรมโดยให้ประเด็นว่า
ถ้ามีนิวคลีโอไทด์ 2 โมเลกุล
ติดกันเป็นรหัสกำ�หนดกรดแอมิโน 1 ชนิดจะได้รหัสของกรดแอมิโนกี่รหัส และกำ�หนดชนิดของ
กรดแอมิโนกี่ชนิด
โดยให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายและออกแบบรหัสพันธุกรรมอย่างอิสระ วัสดุที่ทำ�
กิจกรรมอาจใช้ปากกาเคมีสีต่างๆ เขียนชนิดของนิวคลีโอไทด์ในกระดาษ หรือตัดกระดาษสีแทนชนิด
ของนิวคลีโอไทด์ เป็นต้น แล้วนำ�เสนอหน้าชั้นเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น ๆ จากการทำ�กิจกรรมและ
อภิปรายและบอกวิธีคิด ทำ�ให้ได้ข้อสรุปว่ารหัสพันธุกรรมที่ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์ 2 โมเลกุลเรียง
กันจะสามารถจัดเรียงให้แตกต่างกันได้ 16 แบบ หรือ 4
2
หรือ 16 รหัส ดังนี้
AA
CC
GG
TT
AT
CA
GA
TA
AC
CT
GT
TC
AG
CG
GC
TG
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 4 | โครโมโซมและสารพันธุกรรม
ชีววิทยา เล่ม 2
23