Table of Contents Table of Contents
Previous Page  158 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 158 / 283 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๒. จำ�แนกสิ่งมีชีวิตโดยใช้ความเหมือนและความแตกต่างของลักษณะของสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่มที่ไม่ใช่พืชและสัตว์

ด้านความรู้

สิ่งมีชีวิตมีหลายชนิดซึ่งมีลักษณะบางอย่างที่

เหมือนและแตกต่างกัน ถ้าใช้การสร้างอาหารและ

การเคลื่อนที่เป็นเกณฑ์ สามารถจำ�แนกได้เป็นกลุ่ม

พืชและกลุ่มสัตว์ โดยกลุ่มพืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ สร้าง

อาหารเองได้แต่เคลื่อนที่ด้วยตนเองไม่ได้ ส่วนกลุ่ม

สัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ต้องกิน

สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารแต่สามารถเคลื่อนที่ได้ และ

ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มพืชและ

กลุ่มสัตว์ได้ เช่น เห็ด รา จุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ

หมายเหตุ:

จุลินทรีย์อื่น ๆ เช่น แบคทีเรีย ที่นักเรียนสามารถ

เรียนรู้ได้ ตามความสนใจและความเหมาะสมกับ

บริบทของผู้เรียน

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตลักษณะของ

สิ่งมีชีวิต

๑. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับชนิดของสิ่งมีชีวิตที่พบในแหล่งที่อยู่

ต่าง ๆ โดยอาจใช้วิธีซักถามหรือใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ของจริง รูปภาพ

วีดิทัศน์

๒. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเกิดข้อสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับความเหมือน

และความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เพื่อนำ�ไปสู่การสังเกต

ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ

๓. นักเรียนร่วมกันสังเกตและบรรยายลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในกลุ่ม

พืชและกลุ่มสัตว์ และสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถจัดอยู่ในกลุ่มพืชและกลุ่ม

สัตว์หลายๆ ชนิดที่ครูเตรียมไว้ และบันทึกผลการสังเกต

๔. นักเรียนร่วมกันจำ�แนกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือนกันอยู่ในกลุ่ม

เดียวกัน พร้อมระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการจำ�แนกสิ่งมีชีวิต บันทึกและ

นำ�เสนอผลการจำ�แนก และร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าถ้า

เกณฑ์ในการจำ�แนกต่างกัน จะจำ�แนกสิ่งมีชีวิตได้ต่างกัน

๕. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการจำ�แนก

สิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มพืชและกลุ่มสัตว์ และกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่

สามารถจัดอยู่ในกลุ่มพืชและกลุ่มสัตว์

๖. นักเรียนร่วมกันจำ�แนกสิ่งมีชีวิตจากตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ครูเตรียมไว้

โดยใช้การสร้างอาหารเองได้และการเคลื่อนที่เป็นเกณฑ์ บันทึกผล

และนำ�เสนอผลการจำ�แนกสิ่งมีชีวิต

๗. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าสิ่งมีชีวิตมีหลายชนิด ซึ่งมี

ลักษณะบางอย่างที่เหมือนและแตกต่างกัน ถ้าใช้การเคลื่อนที่และ

การสร้างอาหารเป็นเกณฑ์ สามารถจำ�แนกและจัดกลุ่มได้เป็นกลุ่ม

ด้านความรู้

จำ�แนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นกลุ่มพืช กลุ่มสัตว์ และกลุ่ม

สิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่พืชและสัตว์พร้อมทั้งระบุเกณฑ์ที่ใช้

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากการบันทึกรายละเอียด

เกี่ยวกับการสังเกตลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในกลุ่ม

พืชและกลุ่มสัตว์ และกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่สามารถ

จัดอยู่ในกลุ่มพืชและกลุ่มสัตว์ได้ครบถ้วนตามความ

เป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

148