Table of Contents Table of Contents
Previous Page  34 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 34 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

24

แสดงความซาบซึ้ง ห่วงใย มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้และรักษาทรัพยากร

ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรู้คุณค่า เสนอตัวเองร่วมมือปฏิบัติกับชุมชน

ในการป้องกัน ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น

วิเคราะห์แนวคิดหลักของเทคโนโลยี ได้แก่ ระบบทางเทคโนโลยีที่

ซับซ้อน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยี

กับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ วิเคราะห์

เปรียบเทียบ และตัดสินใจเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยี โดยคำ�นึงถึงผลกระทบ

ต่อชีวิต สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ

ทรัพยากรเพื่อออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาผลงานสำ�หรับแก้ปัญหาที่มี

ผลกระทบต่อสังคมโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ใช้ซอฟต์แวร์

ช่วยในการออกแบบและนำ�เสนอผลงาน เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และ

เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดภัย รวมทั้งคำ�นึงถึงทรัพย์สิน

ทางปัญญา

ใช้ความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสาร เพื่อรวบรวมข้อมูลในชีวิตจริงจากแหล่งต่าง ๆ และความรู้

จากศาสตร์อื่น มาประยุกต์ใช้ สร้างความรู้ใหม่ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของ

เทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำ�เนินชีวิต อาชีพ สังคม วัฒนธรรม และใช้อย่าง

ปลอดภัยและมีจริยธรรม

ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คุณภาพผู้เรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ ๖ ที่กำ�หนดไว้ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ

และวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ เป็นพื้นฐานที่เพียงพอสำ�หรับการดำ�รงชีวิตและ

รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทั้งนี้สำ�หรับกลุ่มผู้เรียนที่เน้นวิทยาศาสตร์ ที่

ต้องการศึกษาต่อในสายวิชาชีพที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน หรือเพื่องานวิจัยที่

ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระชีววิทยา สาระ

เคมี สาระฟิสิกส์ และสาระโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖

สามารถดูรายละเอียดได้ในคู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ระดับมัธยมศึกษา

ตอนปลาย