Table of Contents Table of Contents
Previous Page  35 / 283 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 35 / 283 Next Page
Page Background

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ระดับประถมศึกษา

25

๖. ทักษะที่สำ�คัญในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

การดำ�รงชีวิตและประกอบอาชีพในศตวรรษที่ ๒๑ นั้น มีความคาดหวัง

ให้พลเมืองในศตวรรษนี้เป็นผู้มีความรอบรู้ เป็นนักคิดและนักแก้ปัญหา สามารถ

นำ�ความรู้มาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และทันท่วงที ดังนั้นในการจัดการ

เรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผู้สอนจึงจำ�เป็นต้องออกแบบและวางแผนการจัดการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนในด้านต่างๆ ทั้งด้านองค์ความรู้

หรือแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะ

การคิดระดับสูง ด้านทักษะที่จำ�เป็นสำ�หรับศตวรรษที่ ๒๑ และด้านทักษะอื่น ๆ

ตลอดจนด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนเป็นนักเรียนรู้ นักคิด เชื่อมั่น

ยึดถือและศรัทธาในการใช้ความรู้วิทยาศาสตร์ในทางที่สร้างสรรค์ สามารถนำ�

ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่นอย่างมีคุณธรรม เป็นกำ�ลังสำ�คัญ

ในการพัฒนาประเทศชาติ ตลอดจนเป็นพลเมืองของโลกที่ดำ�รงชีวิตในสังคม

แห่งศตวรรษที่ ๒๑ อย่างมีคุณค่า

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science Process Skills)

การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ จำ�เป็นต้องใช้ทักษะกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์เพื่อนำ�ไปสู่การสืบเสาะค้นหา ผ่านการสังเกต ทดลอง สร้าง

แบบจำ�ลอง และวิธีการอื่น ๆ เพื่อนำ�ข้อมูล สารสนเทศและหลักฐานเชิงประจักษ์

มาสร้างคำ�อธิบายเกี่ยวกับแนวคิดหรือองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Padilla,

๑๙๙๐; วรรณทิพา, ๒๕๔๐) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย

ทักษะการสังเกต (Observing)

เป็นความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆ

อย่างเข้าไปสำ�รวจวัตถุหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติหรือจากการ

ทดลองโดยไม่ลงความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไปด้วย ประสาทสัมผัสทั้ง ๕

อย่าง ได้แก่ การดู การฟังเสียง การดมกลิ่น การชิมรส และการสัมผัส

ทักษะการวัด (Measuring)

เป็นความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการวัดปริมาณต่างๆ ได้อย่าง

เหมาะสม รวมถึงความสามารถในการหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ จาก

เครื่องมือที่เลือกใช้ออกมาเป็นตัวเลขได้ถูกต้องและรวดเร็ว พร้อมระบุ

หน่วยของการวัดได้อย่างถูกต้อง

ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring)

เป็นความสามารถในการคาดเดาอย่างมีหลักการเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือ

ปรากฏการณ์ โดยใช้ข้อมูล (Data) หรือสารสนเทศ (Information) ที่เคย

เก็บรวบรวมไว้ในอดีต

ทักษะการจำ�แนกประเภท (Classifying)

เป็นความสามารถในการแยกแยะ จัดพวกหรือจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ ที่สนใจ เช่น

วัตถุ สิ่งมีชีวิต ดาวและเทหวัตถุต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา

ออกเป็นหมวดหมู่ นอกจากนี้ยังหมายถึงความสามารถในการเลือกและ

ระบุเกณฑ์หรือลักษณะร่วมลักษณะใดลักษณะหนึ่งของสิ่งต่างๆ ที่ต้องการ

จำ�แนก

ทักษะการหาความสัมพันธ์ของสเปซกับเวลา

(Relationship of Space and Time)

สเปซคือพื้นที่ที่วัตถุครอบครอง ในที่นี้อาจเป็นตำ�แหน่ง รูปร่าง รูปทรงของ

วัตถุ สิ่งเหล่านี้อาจมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้