Table of Contents Table of Contents
Previous Page  160 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 160 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด

๔. อธิบายการพยากรณ์อากาศ และพยากรณ์อากาศอย่างง่ายจากข้อมูลที่รวบรวมได้

๕. ตระหนักถึงคุณค่าของการพยากรณ์อากาศ โดยนำ�เสนอแนวทางการปฏิบัติตนและการใช้ประโยชน์จากคำ�พยากรณ์อากาศ

ด้านความรู้

๑. การพยากรณ์อากาศเป็นการคาดการณ์สภาพ

ลมฟ้าอากาศล่วงหน้าด้วยกระบวนการที่เป็น

ระบบ ประกอบด้วยขั้นตอนสำ�คัญได้แก่

๑) การตรวจอากาศเพื่อรวบรวมข้อมูล

องค์ประกอบลมฟ้าอากาศ เช่น ปริมาณ

ฝน อัตราเร็วและทิศทางลมอุณหภูมิ

อากาศสูงสุด อุณหภูมิอากาศต่ำ�สุด ชนิด

และปริมาณเมฆปกคลุม

๒) การสื่อสารเพื่อรวบรวมและแลกเปลี่ยน

ข้อมูลผลการตรวจอากาศจากแหล่งต่างๆ

๓) การวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำ�พยากรณ์

จากนั้นเผยแพร่คำ�พยากรณ์ในช่อง

ทางต่าง ๆ

๒. การพยากรณ์อากาศอย่างง่ายทำ�ได้โดย

การจัดกระทำ�ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

กราฟเส้น จากนั้นวิเคราะห์แนวโน้มของ

ข้อมูล

๑. ครูกระตุ้นความสนใจ เกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ โดยอาจใช้สถานการณ์

หรือคำ�ถาม หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์เกี่ยวกับการพยากรณ์

อากาศ เพื่อนำ�ไปสู่การทำ�กิจกรรม

๒. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการพยากรณ์อากาศจาก

แหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต

(www.tmd.go.th

) หรือใบความรู้ที่

ครูเตรียมไว้ และนำ�เสนอ

๓. นักเรียนร่วมกันอภิปรายจนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับวิธีการพยากรณ์อากาศว่า

ประกอบด้วยขั้นตอน ๓ ขั้น ได้แก่

๑) การรวบรวมข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ

๒) การสื่อสารข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ

๓) การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศและสร้างคำ�พยากรณ์

รวมทั้งการเผยแพร่คำ�พยากรณ์อากาศ

๔. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มพยากรณ์อากาศด้วยตนเองตามวิธีการพยากรณ์

อากาศ ดังนี้

- รวบรวมข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศย้อนหลังจากแหล่งข้อมูลต่าง 

ๆ เช่น เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา โดย ข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศที่

ควรรวบรวมได้ เช่น อุณหภูมิอากาศ ปริมาณฝน ทิศทางและอัตราเร็วลม

- วิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ โดยการนำ�ข้อมูลมา

จัดกระทำ�ให้อยู่ในรูปของแผนภูมิแท่งหรือกราฟเส้นเพื่อวิเคราะห์

แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบลมฟ้าอากาศ

ด้านความรู้

๑. อธิบายการพยากรณ์อากาศ

๒. พยากรณ์อากาศอย่างง่ายโดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้

150