Table of Contents Table of Contents
Previous Page  158 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 158 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๕. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่า พายุฝนฟ้าคะนอง เกิด

จากอากาศที่มีอุณหภูมิและความชื้นสูงลอยตัวสูงขึ้นสู่บริเวณที่มีอุณหภูมิ

ต่ำ�กว่า ทำ�ให้ไอน้ำ�ในอากาศเกิดการควบแน่นเป็นละอองน้ำ�อย่างต่อเนื่อง

และละอองน้ำ�ก่อตัวในแนวตั้งเกิดเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัสซึ่งทำ�ให้เกิดฝน

ตกหนัก ลมกรรโชกแรง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า

พายุหมุนเขตร้อนเกิดเหนือมหาสมุทรบริเวณใกล้ศูนย์สูตร ที่น้ำ�

มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ ๒๖ - ๒๗ องศาเซลเซียส ขึ้นไป เกิดการระเหยเป็น

ไอน้ำ�ปริมาณมาก และเคลื่อนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นบริเวณกว้าง อากาศ

จากบริเวณอื่นเคลื่อนเข้ามาแทนที่ และพัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางของพายุ

ในซีกโลกเหนือจะพัดเวียนทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนในซีกโลกใต้จะ

พัดเวียนทิศทางตามเข็มนาฬิกา ยิ่งใกล้ศูนย์กลางอากาศจะเคลื่อนที่

พัดเวียนเกือบเป็นวงกลมและมีอัตราเร็วสูงที่สุด

พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน ส่งผลกระทบต่อมนุษย์

และทรัพย์สิน โดยพายุฝนฟ้าคะนอง ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและ

ทรัพย์สิน เช่น บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น ประชาชน

ถูกฟ้าผ่า นอกจากนี้ยังอาจทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมตามมาด้วย ส่วนพายุหมุน

เขตร้อนเมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินจะส่งผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง

หลายร้อยตารางกิโลเมตรเป็นระยะเวลานานหลายวัน โดยทำ�ให้เกิด

ลมพัดแรงและฝนตกหนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

เช่น บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น และยังอาจก่อให้เกิด

ภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ ตามมา เช่น คลื่นพายุซัดฝั่ง น้ำ�ท่วม และ

ดินถล่มวิธีปฏิบัติตนให้ปลอดภัยพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุน

เขตร้อน อาจทำ�ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น อยู่ห่างจากต้นไม้ ป้ายโฆษณา

เสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง คอยติดตามประกาศเตือนภัยจาก

กรมอุตุนิยมวิทยา และเตรียมรับภัยพิบัติอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมา เช่น

คลื่นพายุซัดฝั่ง น้ำ�ท่วม และดินถล่ม

๒. พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆ

ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

เช่น บ้านเรือนเสียหาย ต้นไม้และเสาไฟฟ้า

หักโค่น ประชาชนถูกฟ้าผ่า นอกจากนี้ยังอาจ

ทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมตามมาด้วย

๓. พายุหมุนเขตร้อนมีระยะเวลาตั้งแต่ก่อตัว

จนกระทั่งสลายตัวไม่เกิน ๗ วัน โดยประมาณ

เมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่แผ่นดินจะส่งผลกระทบ

เป็นบริเวณกว้างหลายร้อยตารางกิโลเมตร

เป็นระยะเวลานานหลายวัน โดยทำ�ให้เกิด

ลมพัดแรงและฝนตกหนัก ซึ่งอาจก่อให้เกิด

อันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น บ้านเรือน

เสียหาย ต้นไม้และเสาไฟฟ้าหักโค่น และยัง

อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอื่น ๆ

ตามมา เช่น คลื่นพายุซัดฝั่ง น้ำ�ท่วม และ

ดินถล่ม

๔. มนุษย์สามารถปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจาก

พายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน

ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น อยู่ห่างจากต้นไม้

ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า หรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่

แข็งแรง คอยติดตามประกาศเตือนภัยจาก

กรมอุตุนิยมวิทยา และเตรียมรับภัยพิบัติอื่นๆ

ที่อาจเกิดตามมา เช่น คลื่นพายุซัดฝั่ง น้ำ�ท่วม

และดินถล่ม

148