การวิเคราะห์ตัวชี้วัด
แนวทางการจัดการเรียนรู้
แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด
๓. เปรียบเทียบกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและพายุหมุนเขตร้อน และผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งนำ�เสนอแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและปลอดภัย
ด้านความรู้
๑. พายุฝนฟ้าคะนอง เกิดจากอากาศที่มี
อุณหภูมิและความชื้นสูงลอยตัวสูงขึ้นสู่
ระดับความสูงบนท้องฟ้าที่มีอุณหภูมิต่ำ�กว่า
ทำ�ให้ไอน้ำ�ในอากาศเกิดการควบแน่นเป็น
ละอองน้ำ�อย่างต่อเนื่อง และละอองน้ำ�ก่อตัว
ในแนวตั้งเกิดเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัสซึ่ง
ทำ�ให้เกิดฝนตกหนัก ลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า
พายุหมุนเขตร้อน เกิดเหนือมหาสมุทร
บริเวณใกล้ศูนย์สูตรที่น้ำ�มีอุณหภูมิสูงตั้งแต่
๒๖-๒๗ องศาเซลเซียส ขึ้นไป เกิดการระเหย
เป็นไอน้ำ�ปริมาณมาก และเคลื่อนที่สูงขึ้น
อย่างรวดเร็วเป็นบริเวณกว้าง อากาศจาก
บริเวณอื่นเคลื่อนเข้ามาแทนที่ และพัดเวียน
เข้าหาศูนย์กลางของพายุ ในซีกโลกเหนือ
จะพัดเวียนทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ส่วนใน
ซีกโลกใต้จะพัดเวียนทิศทางตามเข็มนาฬิกา
ยิ่งใกล้ศูนย์กลางอากาศจะเคลื่อนที่พัดเวียน
เกือบเป็นวงกลมและมีอัตราเร็วสูงที่สุด
๑. ครูกระตุ้นความสนใจของนักเรียน โดยอาจใช้สถานการณ์ หรือคำ�ถาม
หรือสื่อต่าง ๆ เช่น รูปภาพ วีดิทัศน์ เกี่ยวกับพายุฝนฟ้าคะนองพายุและ
หมุนเขตร้อนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น พายุหมุนเขตร้อนแฮร์เรียต
พายุไต้ฝุ่นเกย์ และพายุฝนฟ้าคะนอง
๒. นักเรียนวิเคราะห์ผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมจากกรณีตัวอย่าง
พายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อนที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น
พายุโซนร้อนแฮร์เรียตที่ส่งผลกระทบบริเวณแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง
จ.นครศรีธรรมราช พายุไต้ฝุ่นเกย์ที่ส่งผลกระทบบริเวณ อ.ปะทิว และ
อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร และพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในพื้นที่ อ.สีคิ้ว
จ.นครราชสีมา
๓. นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง และ
พายุหมุนเขตร้อน และผลกระทบของพายุฝนฟ้าคะนองและ
พายุหมุนเขตร้อน รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและปลอดภัย
๔. นักเรียนนำ�ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ จัดกระทำ�ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
และนำ�เสนอการเปรียบเทียบกระบวนการเกิดและผลกระทบของ
พายุฝนฟ้าคะนอง และพายุหมุนเขตร้อน รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตน
ให้เหมาะสมและปลอดภัย
ด้านความรู้
๑. เปรียบเทียบกระบวนการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
และพายุหมุนเขตร้อน และผลที่มีต่อสิ่งมีชีวิตและ
สิ่งแวดล้อม
๒. นำ�เสนอแนวทางการปฏิบัติตนให้เหมาะสมและ
ปลอดภัย
147
วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑