Table of Contents Table of Contents
Previous Page  180 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 180 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

๖. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลงข้อสรุปว่าเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นหน่วย

รับความรู้สึกที่บริเวณหัวเข่า จะเกิดกระแสประสาทที่เซลล์ประสาท

รับความรู้สึก แล้วส่งกระแสประสาทไปยังไขสันหลังซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง

ของระบบประสาทส่วนกลาง ไขสันหลังจะส่งกระแสประสาทไปตามเซลล์

ประสาทสั่งการไปยังกล้ามเนื้อบริเวณขาซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติงาน ทำ�ให้

ขากระตุกขึ้น

๗. เขียนแผนภาพแสดงการทำ�งานของระบบประสาทที่ทำ�ให้เกิดการ

ตอบสนองต่อสิ่งเร้า นำ�เสนอ

๘. ครูกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำ�คัญของการดูแลรักษาระบบประสาท

โดยใช้สื่อต่างๆ เช่น สถานการณ์ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากสมอง

ได้รับความกระทบกระเทือน ข้อมูล สถิติคนไทยที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบ

ประสาท เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองเสื่อม โรคเส้นเลือดใน

สมองตีบ โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เพื่อนำ�ไปสู่การสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และ

แนวทางการดูรักษาระบบประสาท

๙. นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการดูแลรักษาระบบประสาท จาก

แหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวบรวมข้อมูล นำ�เสนอผล

๑๐. นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแนวทางในการดูแลรักษาระบบ

ประสาท เพื่อลงข้อสรุปว่าระบบประสาทเป็นระบบที่มีความซับซ้อนและมี

ความสัมพันธ์กับทุกระบบในร่างกาย ดังนั้นจึงควรป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

ที่กระทบกระเทือนต่อสมอง หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด รับประทาน

อาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงภาวะเครียด เพื่อ

ดูแลรักษาระบบประสาทให้ทำ�งานเป็นปกติ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ทักษะการสังเกต โดยการสังเกตการตอบ

สนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น

๒. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล โดยการนำ�

ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและรวบรวม

มาอธิบายการทำ�งานของระบบประสาท

ส่วนกลาง และการตอบสนองของร่างกาย

เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในการสืบค้นข้อมูล

นำ�เสนอผล เกี่ยวกับอวัยวะ หน้าที่และการ

ทำ�งานของระบบประสาท รวมทั้งการสังเกต

การตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามา

กระตุ้น

๒. ทักษะด้านการสื่อสาร โดยการนำ�เสนอข้อมูล

ที่ได้จากสืบค้นเกี่ยวกับอวัยวะ หน้าที่และ

การทำ�งานของระบบประสาท การตอบสนอง

ของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น รวมทั้ง

นำ�เสนอแนวทางในการดูแลระบบประสาท

ให้ทำ�งานเป็นปกติ

ด้านทักษะ

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. ประเมินทักษะการสังเกต จากผลการบันทึกข้อมูล

การตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นได้

ครบถ้วน ตามความเป็นจริงโดยไม่เพิ่มความคิดเห็น

ส่วนตัว

๒. ประเมินทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล จาก

การนำ�ผลการสังเกตและการรวบรวมข้อมูลมา

อธิบายการทำ�งานของอวัยวะในระบบประสาท และ

การตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นได้

อย่างสมเหตุสมผล

ทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑

๑. ประเมินทักษะด้านความร่วมมือและการทำ�งาน

เป็นทีม จากการทำ�งานร่วมกับผู้อื่นในการสืบค้น

ข้อมูล นำ�เสนอผล เกี่ยวกับอวัยวะ หน้าที่และการ

ทำ�งานของระบบประสาท รวมทั้งการสังเกตการ

ตอบสนองของร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น ตั้งแต่

เริ่มต้นจนสำ�เร็จลุล่วง

๒. ประเมินทักษะด้านการสื่อสาร จากการนำ�เสนอ

ข้อมูลที่ได้จากสืบค้นเกี่ยวกับอวัยวะ หน้าที่และ

การทำ�งานของระบบประสาท การตอบสนองของ

ร่างกายเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น รวมทั้งนำ�เสนอ

แนวทางในการดูแลระบบประสาทให้ทำ�งานเป็น

ปกติ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ชัดเจน และ

ถูกต้อง

170