Table of Contents Table of Contents
Previous Page  273 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 273 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

การกัดเซาะชายฝั่ง เกิดจากตะกอน

บริเวณชายฝั่งถูกนำ�พาไปยังบริเวณอื่น

เนื่องจากน้ำ�ทะเล การกัดเซาะชายฝั่งอาจ

เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือจากการกระทำ�

ของมนุษย์ นอกจากนี้การกัดเซาะชายฝั่ง

ยังอาจเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นดินหรือ

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำ�ทะเล

ดินถล่ม เป็นการเคลื่อนที่ของมวลดิน

หรือหินจำ�นวนมากลงตามลาดเขา เนื่องจาก

แรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเกิดจากปัจจัยสำ�คัญ

ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ สภาพทาง

ธรณีวิทยา ปริมาณฝน พืชปกคลุมดิน และ

การใช้ประโยชน์พื้นที่

หลุมยุบ คือ แอ่งหรือหลุมบนแผ่นดิน

ขนาดต่างๆ ที่อาจเกิดจากการถล่มของโพรง

ถ้ำ�หินปูน เกลือหิน ยิปซัมใต้พื้นดิน หรือ

ทางน้ำ�หรือธารน้ำ�ใต้ดิน

แผ่นดินทรุดเกิดจากการยุบตัวของ

ชั้นดิน หรือหินร่วน เมื่อมวลของแข็งหรือ

ของเหลวปริมาณมากที่รองรับอยู่ใต้ชั้น

ดินบริเวณนั้นถูกเคลื่อนย้ายออกไปโดย

ธรรมชาติหรือโดยการกระทำ�ของมนุษย์

๒. น้ำ�ท่วม การกัดเซาะชายฝั่ง ดินถล่ม หลุมยุบ

และแผ่นดินทรุด เป็นภัยธรรมชาติที่มีผลต่อ

สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม มนุษย์จึงควรศึกษา

แนวทางในการเฝ้าระวังและปฏิบัติตนให้

ปลอดภัย

๓. ครูกำ�หนดกรณีตัวอย่างภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น น้ำ�

ท่วมในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ การกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย

ดินถล่มในพื้นที่ภาคเหนือหรือภาคใต้ หลุมยุบที่วัดห้วยเสียด จ.กระบี่

แผ่นดินทรุดในเขตพื้นกรุงเทพมหานคร จากนั้นให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม

เลือกศึกษากรณีตัวอย่างที่ไม่ซ้ำ�กัน

๔. นักเรียนแต่ละกลุ่มสืบค้นและรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่เลือก

ไว้ตามประเด็นดังต่อไปนี้

- กระบวนการเกิด

- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิด

- ผลกระทบ

- แนวทางในการเฝ้าระวัง

- แนวทางในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย

๕. นักเรียนสร้างแบบจำ�ลองเพื่ออธิบายภัยธรรมชาติที่เลือกไว้ เกี่ยวกับ

กระบวนการเกิด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิด ผลกระทบ แนวทางในการเฝ้า

ระวัง และแนวทางในการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติดังกล่าว

และจัดแสดงผลงานในชั้นเรียน จากนั้นให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อลง

ข้อสรุป ดังนี้

- น้ำ�ท่วม เกิดจากพื้นที่หนึ่งได้รับปริมาณน้ำ�เกินกว่าที่จะกักเก็บได้

ทำ�ให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ� ความรุนแรงของน้ำ�ท่วมขึ้นอยู่กับ

ปริมาณน้ำ� ระยะเวลา และสภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่

- การกัดเซาะชายฝั่ง เกิดจากตะกอนบริเวณชายฝั่งถูกนำ�พาไปยัง

บริเวณอื่นเนื่องจากคลื่นจากทะเล การกัดเซาะชายฝั่งอาจเกิดขึ้นเอง

ตามธรรมชาติหรือจากการกระทำ�ของมนุษย์ นอกจากนี้การกัดเซาะ

ชายฝั่งยังอาจเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นหรือการเพิ่มขึ้นของระดับ

น้ำ�ทะเล

263

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒