กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
58
แนวคิดของการประเมินการเรียนรู้
การประเมินการเรียนรู้เป็นวิธีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแนวคิดและทักษะ
ของผู้เรียน (Harlen, 2001) ซึ่งสามารถทำ�ได้ทั้งการประเมินการเรียนรู้ระหว่าง
เรียน และการประเมินการเรียนรู้สรุปรวม การเรียนรู้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง
(On-going Process) ที่บูรณาการอยู่ในกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และ
เกิดขึ้นระหว่างการเรียนการสอน โดยถือว่าเป็นหัวใจสำ�คัญของการเรียนการสอน
ที่มีประสิทธิภาพ (Harlen, 1995; 1998; Black and Wiliam, 1998; Bell
and Cowie, 1999) แนวคิดพื้นฐานของการประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียน
คือผู้เรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้ ดังนั้นจึงเป็นการประเมินการเรียนรู้ที่ให้
ความสำ�คัญกับการพัฒนาตนเองของผู้เรียนมากกว่าการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์
ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (Harlen, 1998) จุดมุ่งหมายหลักของการประเมินการ
เรียนรู้ระหว่างเรียนมีดังต่อไปนี้
๑. เพื่อค้นหาและวินิจฉัยว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาวิทยาศาสตร์
มีทักษะความชำ�นาญในการสำ�รวจตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ รวมถึง
มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างไรและในระดับใด เพื่อเป็นแนวทางให้
ผู้สอนสามารถวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ
๒. เพื่อใช้เป็นข้อมูลป้อนกลับให้กับผู้เรียนว่ามีการเรียนรู้อย่างไร
๓. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสรุปผลการเรียนรู้ และเปรียบเทียบระดับ
พัฒนาการด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
หน้าที่สำ�คัญของผู้สอนในการประเมินการเรียนรู้ระหว่างเรียน คือ
เก็บรวบรวมข้อมูลหลักฐานที่สะท้อนการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนในระหว่าง
การเรียนการสอน ตีความหมายข้อมูลหลักฐานเหล่านั้น โดยเปรียบเทียบกับ
เป้าหมายการเรียนรู้และเกณฑ์ที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตร แล้วให้ข้อมูลย้อนกลับ
แก่ผู้เรียนว่ามีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับใด มีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องหรือไม่ อย่างไร
ควรจะพัฒนาอะไร และควรทำ�อย่างไรเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองให้บรรลุ
เป้าหมายที่ตั้งไว้ นอกจากนั้นผู้สอนยังมีหน้าที่ติดตามตรวจสอบความก้าวหน้า
ในการเรียนรู้ของผู้เรียนระหว่างการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง (Tunstall and
Gipps, 1996; Harlen, 1998) สิ่งสำ�คัญอีกประการหนึ่งก็คือ การเรียนรู้ของ
ผู้เรียนนอกจากจะใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนในการพัฒนาตนเองแล้ว
ยังใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้สอนเพื่อปรับปรุงการสอนในครั้งต่อไปให้สอดคล้อง
กับจุดอ่อน ข้อบกพร่อง หรือความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนอีกด้วย
(Bell and Cowie, 1999; Black and Wiliam, 1998)