Table of Contents Table of Contents
Previous Page  83 / 367 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 83 / 367 Next Page
Page Background

การวิเคราะห์ตัวชี้วัด

แนวทางการจัดการเรียนรู้

แนวทางการวัดและประเมินตัวชี้วัด

ด้านความรู้

๑. เซลล์พืชและเซลล์สัตว์มีรูปร่างลักษณะ

ที่แตกต่างกัน เซลล์พืชส่วนใหญ่มีลักษณะ

ค่อนข้างเหลี่ยม ส่วนเซลล์สัตว์มีลักษณะไม่

เป็นเหลี่ยมเหมือนเซลล์พืช เซลล์พืชและ

เซลล์สัตว์มีโครงสร้างที่เหมือนกัน ได้แก่

เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม และนิวเคลียส

ส่วนที่ต่างกันคือ เซลล์พืชมีผนังเซลล์และ

คลอโรพลาสต์ ซึ่งไม่พบในเซลล์สัตว์

๒. เซลล์ประกอบด้วยโครงสร้างต่าง ๆ ที่ทำ�

หน้าที่แตกต่างกัน ได้แก่ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้ม

เซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล

ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์

ด้านความรู้

๑. เปรียบเทียบรูปร่างลักษณะและโครงสร้างของเซลล์

พืชและเซลล์สัตว์ เมื่อสังเกตด้วยกล้องจุลทรรศน์

ใช้แสง

๒. บรรยายโครงสร้างและหน้าที่ของผนังเซลล์

เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล

ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์

๓. ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงในการศึกษาเซลล์พืชและ

เซลล์สัตว์ได้อย่างถูกต้อง

๑. ครูกระตุ้นให้นักเรียนสงสัยและตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับหน่วยพื้นฐานของ

สิ่งมีชีวิต โดยอาจใช้วิธีซักถามหรือการใช้สื่อต่างๆ เช่น รูป ภาพเคลื่อนไหว

เพื่อนำ�ไปสู่การสำ�รวจว่าเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

๒. นักเรียนศึกษาขั้นตอนและวิธีใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสง พร้อมทั้งฝึกการ

ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงอย่างถูกต้องและเหมาะสม

๓. นักเรียนรวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการสังเกต สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

บางชนิดและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของพืชและสัตว์ด้วยกล้องจุลทรรศน์

ใช้แสง รวบรวมข้อมูล บันทึกผล นำ�เสนอผลการสังเกต

๔. นักเรียนร่วมกันอภิปราย เพื่อลงข้อสรุปว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีเซลล์เป็น

หน่วยพื้นฐาน

73

วิทยาศาสตร์

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

สาระที่ ๑ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

มาตรฐาน ว ๑.๒ เข้าใจสมบัติของสิ่งมีชีวิต หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต การลำ�เลียงสารเข้าและออกจากเซลล์ ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง

และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสัตว์และมนุษย์ที่ทำ�งานสัมพันธ์กัน ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ

ของพืชที่ทำ�งานสัมพันธ์กัน รวมทั้งนำ�ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด

๑. เปรียบเทียบรูปร่าง ลักษณะ และโครงสร้างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ รวมทั้งบรรยายหน้าที่ของผนังเซลล์

เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม นิวเคลียส แวคิวโอล ไมโทคอนเดรีย และคลอโรพลาสต์

๒. ใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงศึกษาเซลล์และโครงสร้างต่าง ๆ ภายในเซลล์