Table of Contents Table of Contents
Previous Page  45 / 302 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 45 / 302 Next Page
Page Background

คำ�ตอบของนักเรียนอาจหลากหลายขึ้นกับความรู้เดิม ครูยังไม่สรุป ครูและนักเรียนร่วมกัน

อภิปรายและอาจสรุปได้ว่า เนื้อผลไม้ที่นำ�มารับประทานนั้นเป็นส่วนของผนังผล ซึ่งชั้นของผนังผลที่

รับประทานได้นั้นขึ้นกับชนิดของพืช เช่น

- มะละกอ กีวี และมะม่วง รับประทานเฉพาะผนังผลชั้นกลาง ไม่รับประทานผนังผลชั้นนอก

ซึ่งเป็นเปลือก

- มะเฟืองและมะเขือเทศ รับประทานผนังผลทั้ง 3 ชั้น

จากนั้นครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ในผลไม้บางชนิดที่นำ�มารับประทานมีเนื้อที่ไม่ได้เป็นผนังผล

แต่เป็นเนื้อที่เกิดจากเยื่อหุ้มเมล็ด และใช้คำ�ถามเพื่อนำ�เข้าสู่การอภิปรายดังนี้

ถ้านักเรียนเคยรับประทานลิ้นจี่ ลำ�ไย และทุเรียน กับเงาะและกระท้อน ลักษณะของเนื้อที่

รับประทานนั้นแยกออกจากเมล็ดได้เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

นักเรียนเคยสังเกตเนื้อส่วนที่รับประทานว่าติดกับส่วนใดของเมล็ดหรือไม่

คำ�ตอบอาจมีได้หลากหลายขึ้นกับประสบการณ์เดิมของนักเรียน ครูให้นักเรียนศึกษารูป 8.21

เยื่อหุ้มเมล็ด และร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับส่วนเนื้อที่รับประทานได้ซึ่งเป็นส่วนของเยื่อหุ้มเมล็ด นักเรียน

ควรสรุปได้ว่า เนื้อที่เป็นส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดที่แยกออกจากเมล็ดได้ง่าย เช่น ในลิ้นจี่และลำ�ใย จะเป็นส่วน

ที่เจริญมาจากก้านเมล็ด แต่ผลบางชนิดส่วนเยื่อหุ้มเมล็ดแยกออกจากเมล็ดได้ยาก เช่น เงาะและ

กระท้อน จะเป็นส่วนที่เจริญมาจากเปลือกเมล็ด

ครูใช้คำ�ถามถามนักเรียนเพิ่มเติมว่า เมล็ดพืชมีการสะสมแป้งและไขมันไว้ที่เมล็ด ซึ่งอาจสะสม

ในเอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยง มนุษย์นำ�มาใช้ประโยชน์อะไรบ้าง ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อ

ให้ได้ข้อสรุปว่า มนุษย์นำ�เมล็ดมาใช้เป็นอาหาร โดยเมล็ดพืชที่สะสมแป้งอาจจะนำ�มารับประทานทั้ง

เมล็ด เช่น ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว หรืออาจนำ�เมล็ดไปบดให้ละเอียดจนกลายเป็นแป้ง เช่น แป้งสาลี

ใช้ในการทำ�ขนมปัง ส่วนเมล็ดพืชที่สะสมลิพิดไว้จะนำ�มาสกัดเพื่อผลิตน้ำ�มัน เช่น น้ำ�มันถั่วเหลือง

น้ำ�มันมะพร้าว จากนั้นครูให้นักเรียนตอบคำ�ถามในหนังสือเรียน ซึ่งมีแนวการตอบดังนี้

แป้งในเมล็ดข้าวเจ้าและถั่วเขียว สะสมอยู่ในโครงสร้างใดของเมล็ด

ในเมล็ดข้าวเจ้าจะสะสมแป้งในเอ็นโดสเปิร์ม ส่วนในเมล็ดถั่วเขียวจะสะสมแป้งในใบเลี้ยง

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 8 | การสืบพันธุ์ของพืชดอก

ชีววิทยา เล่ม 3

33