ครูให้ความรู้เพิ่มเติมว่า นอกจากปัจจัยภายนอกแล้วพืชยังต้องการฮอร์โมนพืชซึ่งสร้างขึ้นเพื่อ
ควบคุมการเจริญเติบโตในระยะต่าง ๆ ฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นนี้จัดเป็นปัจจัยภายใน ครูตั้งประเด็นเพื่อ
ให้นักเรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องฮอร์โมนพืช โดยตัวอย่างคำ�ถามอาจเป็น ดังนี้
•
นักเรียนเคยสังเกตต้นพืชที่ปลูกไว้ริมระเบียงหรือริมหน้าต่างหรือไม่ว่ามีลักษณะอย่างไร
•
นักเรียนเคยเด็ดยอดกะเพรา กระถิน มาเพื่อรับประทานหรือไม่ เมื่อเวลาผ่านไปบริเวณ
ยอดที่ถูกเด็ดมีลักษณะเป็นอย่างไร
•
นักเรียนเคยบ่มผลไม้หรือไม่ และใช้วิธีการใดในการบ่ม
คำ�ถามเหล่านี้นักเรียนอาจตอบได้หลากหลายตามประสบการณ์ของนักเรียน ซึ่งครูยังไม่สรุป
คำ�ตอบของนักเรียน แต่ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมนพืชในหนังสือเรียน แล้วจึงมาร่วมกัน
อภิปรายในคำ�ถามข้างต้นอีกครั้งว่ามีฮอร์โมนพืชใดบ้างที่เกี่ยวข้อง จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ฮอร์โมนพืชประเภทต่าง ๆ ซึ่งพืชสร้างขึ้นในปริมาณน้อย แต่มีผลควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในการ
เจริญเติบโตของพืชได้ และปัจจุบันนี้มีการสังเคราะห์สารควบคุมการเจริญเติบโตโดยเลียนแบบ
ฮอร์โมนพืชเหล่านี้เพื่อใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร ครูอาจนำ�วีดิทัศน์เกี่ยวกับการใช้สารดังกล่าวใน
การเกษตรมาให้นักเรียนดูเพื่อกระตุ้นความสนใจ ซึ่งสามารถค้นหาวีดิทัศน์ได้จากแหล่งเรียนรู้ออนไลน์
โดยใช้ข้อความว่า “การใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช” จากนั้นจึงให้นักเรียนทำ�กิจกรรม 3.4
3.2.2 ปัจจัยภายใน
ด้านจิตวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น การใช้วิจารณญาณ ความเชื่อมั่นต่อหลักฐานเชิงประจักษ์
ความใจกว้าง การยอมรับความเห็นต่าง ความซื่อสัตย์ ความมุ่งมั่นอดทน ความรอบคอบ และ
วัตถุวิสัย จากการทำ�กิจกรรมและการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน โดยประเมินตามสภาพ
จริงระหว่างเรียน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 3 | การดำ�รงชีวิตของพืช
87
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ