Table of Contents Table of Contents
Previous Page  102 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 102 / 194 Next Page
Page Background

จุดประสงค์

สืบค้นข้อมูลและนำ�เสนอเกี่ยวกับสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชที่สังเคราะห์ขึ้นเพื่อ

ใช้ในการเกษตร

เวลาที่ใช้ (โดยประมาณ)

60

นาที

แนวการจัดกิจกรรม

ในการทำ�กิจกรรมนี้ครูควรแนะนำ�ให้นักเรียนได้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น

จากร้านค้าทางการเกษตร​ หรือจากสื่อวีดิทัศน์ที่ทางหน่วยงานที่น่าเชื่อถือจัดทำ�ขึ้นเพื่อ

เผยแพร่ความรู้

ตัวอย่างการใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืชแต่ละชนิดในแต่ละระยะ

การเจริญเติบโตของพืช อาจเป็นดังนี้

ระยะเมล็ด

- ใช้จิบเบอเรลลิน​ หรือใช้เอทิฟอนในปริมาณที่เหมาะสมแช่เมล็ดเพื่อช่วยกระตุ้น

การงอกของเมล็ดให้เร็วขึ้น และมีสัดส่วนของเมล็ดที่งอกมากขึ้น

ระยะที่เจริญเป็นต้น

- ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายออกซิน เช่น IBA NAA ช่วยในการเร่งการเกิดราก

ของกิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ�

- ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายไซโทไคนิน เช่น BA ในการเร่งการเจริญเติบโตของตา

หลังจากการขยายพันธุ์กุหลาบด้วยการติดตา ทำ�ให้ตาเจริญเป็นกิ่งได้เร็วขึ้น

- ใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายจิบเบอเรลลิน ในการกระตุ้นการเจริญเติบโตทางด้าน

ความสูงของอ้อย

- หยอดถ่านแก๊สลงที่บริเวณยอดสับปะรดซึ่งมีน้ำ�ค้างในช่วงเช้ามืดเพื่อกระตุ้นให้ออกดอก

พร้อมกัน และเก็บเกี่ยวผลผลิตปริมาณมากได้พร้อมกัน

กิจกรรม 3.4 การใช้สารสังเคราะห์ที่มีสมบัติคล้ายฮอร์โมนพืชในทางการเกษตร

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 3 | การดำ�รงชีวิตของพืช

88

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ