Table of Contents Table of Contents
Previous Page  60 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 60 / 194 Next Page
Page Background

แนวการวัดและประเมินผล

ด้านความรู้

- การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิ จากการตอบคำ�ถาม การสืบค้นข้อมูลการอภิปราย และ

การอธิบาย

ด้านทักษะ

- การสังเกต การลงความเห็นจากข้อมูล การสื่อสารสารสนเทศและการรู้เท่าทันสื่อ

การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา จากการตอบคำ�ถาม การสืบค้นข้อมูล และ

การนำ�เสนอข้อมูล

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

-

การใช้วิจารณญาณ ความรอบคอบ จากการตอบคำ�ถาม และการอธิบาย ความใจกว้าง

จากการอภิปราย

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

ความสำ�คัญของผิวหนังต่อการรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิในร่างกาย

บริเวณผิวหนังมีโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ได้แก่ เส้นขน

และกล้ามเนื้อยึดโคนขน (piloerector muscle) หลอดเลือด ต่อมเหงื่อ เมื่ออุณหภูมิของ

สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง โครงสร้างเหล่านี้จะทำ�งานประสานกันเพื่อปรับอุณหภูมิภายใน

ให้คงที่ เช่น เมื่ออุณหภูมิลดลง กล้ามเนื้อยึดโคนขนถูกกระตุ้นให้หดตัวดึงเส้นขนให้ตั้งขึ้น

เพื่อกักอากาศไว้ หลอดเลือดที่ผิวหนังหดตัว ต่อมเหงื่อลดการทำ�งาน เพื่อลดการระบายความ

ร้อนออกสู่ภายนอก เป็นต้น นอกจากนี้ภายใต้ผิวหนังยังมีชั้นไขมันเป็นฉนวนช่วยป้องกันการ

สูญเสียความร้อนของร่างกายด้วย

ส่วนอาการขนลุก เกิดจากการทำ�งานของกล้ามเนื้อยึดโคนขน ที่เป็นกล้ามเนื้อเรียบ เมื่อ

อยู่ในที่มีอุณหภูมิต่ำ� หรือมีสิ่งเร้าอื่นๆ มากระตุ้น ระบบประสาทซิมพาเทติกจะกระตุ้นให้

กล้ามเนื้อยึดโคนขนหดตัวส่งผลให้เส้นขนตั้งชันขึ้น การตอบสนองเช่นนี้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วย

น้ำ�นมจะช่วยกักอากาศที่อุ่นบริเวณผิวหนังไว้ไม่ให้สูญเสียไปกับสิ่งแวดล้อม

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

46

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ