Table of Contents Table of Contents
Previous Page  63 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 63 / 194 Next Page
Page Background

นักเรียนควรอธิบายได้ว่าการอักเสบเกิดขึ้นได้เพราะร่างกายมีการตอบสนองต่อเชื้อโรคหรือ

สิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ โดยจะมีอาการบวม แดง อุณหภูมิสูงกว่าปกติ และรู้สึกเจ็บปวด ซึ่ง

กระบวนการอักเสบนี้เกิดขึ้นโดยการทำ�งานของเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มฟาโกไซต์ เช่น นิวโทรฟิล และ

โมโนโซต์ที่เข้ากินเชื้อโรคและเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายโดยวิธีฟาโกไซโทซิส จนสุดท้ายเซลล์เม็ดเลือดขาว

ที่ตายแล้วจะรวมตัวกันเป็นหนองและถูกกำ�จัดออกทางบาดแผล

ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู

ลักษณะและหน้าที่ของเซลล์เม็ดเลือดขาวในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ�นม

เซลล์เม็ดเลือดขาวในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำ�นมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามลักษณะรูปร่าง

ของนิวเคลียสและแกรนูลพิเศษ (specific granule) ในไซโทพลาซึม ได้แก่ แกรนูโลไซต์

(granulocyte) และอะแกรนูโลไซต์ (agranulocyte)

1.แกรนูโลไซต์

เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสเป็นพู (lobe) จำ�นวนมากกว่า 1 พู นิวเคลียสมี

รูปร่างหลายแบบ พบแกรนูลพิเศษซึ่งมีขนาดใหญ่ในไซโทพลาซึม และยังมีแกรนูลชนิดอื่นๆ

อีก เช่น ไลโซโซมแกรนูล (lysosomal granule) แกรนูโลไซต์แบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามลักษณะ

การติดสีย้อมของแกรนูลพิเศษ ได้แก่

1.1 นิวโทรฟิล (neutrophil) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีจำ�นวนมากที่สุดในเลือด

มีประมาณร้อยละ 60-70 ของเซลล์เม็ดเลือดขาวทั้งหมด มีรูปร่างกลม นิวเคลียสมี 2-5 พู

โดยทั่วไปมี 3 พู แกรนูลพิเศษมีขนาดเล็กมาก ย้อมติดสีทั้งสีที่เป็นกรดและสีที่เป็นเบส คือ

ชมพูถึงม่วง หน้าที่หลักของนิวโทรฟิล คือ ทำ�ลายแอนติเจนที่รวมกับแอนติบอดี

1.2 อิโอซิโนฟิล (eosinophil) พบในเลือดประมาณร้อยละ 1-4 ของเซลล์เม็ดเลือดขาว

นิวเคลียสส่วนใหญ่มี 2 พู ประกอบด้วยแกรนูลพิเศษที่มีขนาดใหญ่ รูปรี ย้อมติดสีส้ม-แดง

ของสีที่เป็นกรด หน้าที่หลักของอิโอซิโนฟิล คือ การต่อต้านและทำ�ลายปรสิตขนาดใหญ่

1.3 เบโซฟิล (basophil) มีจำ�นวนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของเซลล์เม็ดเลือดขาว นิวเคลียส

มี 2 พู แต่เห็นไม่ชัดเจน แกรนูลพิเศษมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในอิโอซิโนฟิลแต่มีจำ�นวนน้อย

กว่า มีรูปร่างกลมหรือรีติดสีม่วงเข้ม เซลล์เม็ดเลือดขาวเบโซฟิลสามารถสร้างและหลั่งฮิสตา

มีนตอบสนองต่อแอนติบอดีได้ ทำ�ให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นเดียวกับเซลล์แมสต์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

49

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ