ครูให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันโดยใช้รูป 2.15 อวัยวะ
และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันในหนังสือเรียน จากนั้นใช้คำ�ถามให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย
ถึงบทบาทและหน้าที่ของอวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน เช่น
•
เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย อวัยวะหรือเนื้อเยื่อใดบ้างที่มีหน้าที่ป้องกันหรือกำ�จัดเชื้อโรค
และสิ่งแปลกปลอม
จากการอภิปรายนักเรียนจะได้แนวคิดว่าโครงสร้างของระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยอวัยวะและ
เนื้อเยื่อต่าง ๆ เช่น ทอนซิล ไทมัส ม้าม ต่อมน้ำ�เหลือง คอยดักจับหรือทำ�ลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม
โดยมีกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะและกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลาย
สิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ
ครูให้นักเรียนศึกษารูป 2.16 การต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบไม่จำ�เพาะ ในหนังสือเรียน
แล้วให้นักเรียนยกตัวอย่างเกี่ยวกับอวัยวะและสารที่ร่างกายสร้างขึ้นซึ่งมีสมบัติในการต่อต้านหรือ
ทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม ทั้งนี้อาจให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสำ�คัญของผิวหนังซึ่งเป็น
ด่านแรกที่มีความสำ�คัญในการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม ครูอาจใช้ภาพโครงสร้างของผิวหนัง
ให้นักเรียนศึกษาเพื่อเชื่อมโยงถึงการขับของเหลวที่ออกจากรูขุมขนซึ่งทำ�หน้าที่ต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่ง
แปลกปลอมด้วยเช่นกัน
ครูใช้ภาพบาดแผลที่มีหนองหรือภาพสิวอักเสบให้นักเรียนศึกษาแล้วตั้งคำ�ถามให้นักเรียนแสดง
ความคิดเห็นเพื่อนำ�เข้าสู่เรื่องการอักเสบซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลไกในการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอม
แบบไม่จำ�เพาะ ดังนี้
•
แผลหรือสิวอักเสบมีลักษณะเป็นอย่างไร ของเหลวหรือหนองเกิดได้อย่างไร
นักเรียนควรจะตอบได้จากประสบการณ์ของนักเรียน เช่น มีลักษณะบวม แดง ร้อนและมีอาการ
เจ็บปวด ส่วนหนองเกิดจากฟาโกไซต์ที่ตายแล้วรวมตัวสะสมอยู่ที่บริเวณบาดแผล
ครูให้นักเรียนสืบค้นเกี่ยวกับกระบวนการอักเสบ ในประเด็นต่อไปนี้
1. เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบ
2. การลำ�เลียงสารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยวิธีฟาโกไซโทซิส
3. อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายมีการอักเสบเกิดขึ้น
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
48
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ