Table of Contents Table of Contents
Previous Page  67 / 194 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 67 / 194 Next Page
Page Background

2.4.2 กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะ

ครูใช้คำ�ถามเพื่อให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายแล้วเชื่อมโยงเข้าสู่กลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่ง

แปลกปลอมแบบจำ�เพาะดังนี้

ถ้าเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมสามารถเข้าสู่เนื้อเยื่อหรือเซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ ร่างกาย

จะยังทำ�กิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติหรือไม่

ผลจากการอภิปรายนักเรียนอาจตอบว่าได้หรือไม่ได้ ซึ่งครูจะยังไม่สรุป จากนั้นครูให้นักเรียนสืบค้น

ข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการต่อต้านหรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะจากหนังสือเรียน หรือแหล่ง

การเรียนรู้อื่นๆ เช่น อินเทอร์เน็ต แพทย์ สถานีอนามัย โดยเน้นคำ�สำ�คัญต่อไปนี้ แอนติเจน แอนติบอดี

เซลล์บี เซลล์ที รวมทั้งกลไกการทำ�งาน โดยให้นักเรียนอธิบายและเขียนแผนผังสรุปกลไกการต่อต้าน

หรือทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะตามที่นักเรียนเข้าใจโดยใช้รูป 2.18 กลไกการต่อต้านหรือ

ทำ�ลายสิ่งแปลกปลอมแบบจำ�เพาะในหนังสือเรียน แล้วตอบคำ�ถามตรวจสอบความเข้าใจในหนังสือ

เรียน

เฉลยตรวจสอบความเข้าใจ

ถ้าเซลล์ทีผู้ช่วยถูกทำ�ลายหรือไม่สามารถทำ�งานได้จะมีผลอย่างไรต่อร่างกาย

ระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง เนื่องจากขาดเซลล์ทีผู้ช่วยที่จะไปกระตุ้นการทำ�งาน

และการแบ่งเซลล์ของลิมโฟไซต์ชนิดต่าง​ๆ​รวมทั้งสร้างแอนติบอดีที่ตอบสนองต่อ

เชื้อโรคต่าง ๆ ได้น้อยลง และติดเชื้อได้ง่าย

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์

53

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ