ความรู้เพิ่มเติมสำ�หรับครู
การผ่าตัดนำ�ไส้ติ่งและทอนซิลออกจากร่างกายเกิดผลเสียหรือไม่
ไส้ติ่งและทอนซิลเป็นอวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์
โดยภายในไส้ติ่งมีลิมโฟไซต์อยู่หนาแน่น รวมทั้งอาจเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์
ต่อระบบย่อยอาหาร เช่นเดียวกับทอนซิลที่มีหน้าที่ดักจับและทำ�ลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ทาง
เดินอาหารและทางเดินหายใจ แต่หากเกิดการอักเสบขึ้น เช่น ไส้ติ่งอักเสบที่อาจเกิดจากการ
อุดตัน จะทำ�ให้เจ็บปวดบริเวณช่องท้องด้านขวา ถ้าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการ
รักษาอาจทำ�ให้เกิดการติดเชื้อเข้าช่องท้องและระบบหมุนเวียนเลือดจนทำ�ให้เสียชีวิตได้ หาก
มีอาการดังกล่าวแพทย์จะใช้ดุลยพินิจให้ตัดออก หรือหากมีการอักเสบเกิดที่ทอนซิลเป็น
ประจำ�จนส่งผลเสียต่อสุขภาพ แพทย์อาจใช้ดุลยพินิจตัดออกเช่นเดียวกัน โดยจะพิจารณา
องค์ประกอบหลายอย่าง เช่น
- มีการอักเสบของทอนซิลบ่อย ๆ คือ เกิน 7 ครั้งใน 1 ปี หรือเกิน 5 ครั้งติดกันใน
2 ปี หรือ 3 ครั้งติดกันใน 3 ปี มีอาการมีทอนซิลเป็นหนอง หรือมีอาการไข้
- ผู้ป่วยทอนซิลอักเสบได้รับยาปฏิชีวนะหลายชนิดรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
- การอักเสบในผู้ใหญ่ที่ทำ�ให้ทอนซิลบวมโตจนทำ�ให้หายใจและรับประทานอาหาร
ได้ลำ�บาก
- ผู้ป่วยที่มีทอนซิลโตและอาจกลายเป็นมะเร็งของทอนซิล
การตัดไส้ติ่งหรือทอนซิลออกจากร่างกายในกรณีดังที่กล่าวมาสามารถทำ�ได้โดยไม่มี
ผลเสียหรืออาจมีผลต่อการดำ�รงชีวิตน้อยมาก เนื่องจากโครงสร้างเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าที่หลัก
ในระบบภูมิคุ้มกัน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | การรักษาดุลยภาพของร่างกายมนุษย์
52
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ