Table of Contents Table of Contents
Previous Page  133 / 284 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 133 / 284 Next Page
Page Background

เพราะเหตุใดจึงต้องมีการทดลองหลอดที่ 1 และ 2

การทดลองหลอดที่ 1 และ 2 เป็นชุดควบคุม เพื่อเปรียบเทียบกับหลอดที่ 3

- หลอดที่ 1 ไม่เกิดฟองแก๊สขึ้นเนื่องจากปฏิกิริยาการสลายตัวของ H

2

O

2

เกิดได้ช้ามาก

เกิดออกซิเจนได้น้อยมาก (negative control)

- หลอดที่ 2 เกิดฟองแก๊สปริมาณมาก เป็นผลจากการสลายตัวของ H

2

O

2

อย่างรวดเร็ว

เมื่อมี KI เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา (positive control)

ตัวอย่างที่นำ�มาศึกษาให้ผลการทดลองเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร

ให้ผลการทดลองเหมือนกันคือจะมีฟองแก๊สเกิดขึ้นแต่อาจจะมีปริมาณฟองแก๊สแตกต่างกัน

จะทดสอบแก๊สออกซิเจนที่เกิดขึ้นได้อย่างไร

ทดสอบได้โดยใช้ธูปที่ดับเปลวไฟแล้ว เหลือเฉพาะปลายถ่านแดง ๆ จ่อเข้าไปใน

หลอดทดลอง ถ้าถ่านสีแดงวาบขึ้น แสดงว่าเป็นแก๊สออกซิเจน

เขียนสมการเคมีแสดงปฏิกิริยาการสลายของ H

2

O

2

2H

2

O

2

→ 2H

2

O + O

2

เพราะเหตุใดการสลาย H

2

O

2

ในสภาพแวดล้อมภายนอกจึงเกิดขึ้นเองได้ช้ามาก

เนื่องจากในการเกิดปฏิกิริยาการสลายของ H

2

O

2

น่าจะต้องการพลังงานกระตุ้นสูงมาก

จึงทำ�ให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเองได้ช้ามาก

เพราะเหตุใดชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิตจึงทำ�ให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น

เพราะในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

หลังจากทำ�กิจกรรม 2.2 แล้ว ครูแสดงภาพการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อมีเอนไซม์และไม่มีเอนไซม์

ดังรูป 2.39 ในหนังสือเรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจบทบาทของเอนไซม์ในการทำ�หน้าที่ลดพลังงาน

กระตุ้น จากนั้นให้ศึกษาเกี่ยวกับการทำ�งานของเอนไซม์ในการเปลี่ยนสารตั้งต้นเป็นสารผลิตภัณฑ์ โดย

ใช้ตัวอย่างการเร่งปฏิกิริยาสลายซูโครสโดยเอนไซม์ซูเครส ดังรูป 2.40 และศึกษาเกี่ยวกับ

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเอนไซม์เมื่อจับกับสารตั้งต้น ดังรูป 2.41 ในหนังสือเรียน แล้วให้นักเรียน

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

ชีววิทยา เล่ม 1

121