1. จากปฏิกิริยาที่ I และ II สารใดเป็นสารตั้งต้น สารใดเป็นสารผลิตภัณฑ์
ปฏิกิริยาที่ I AB เป็นสารตั้งต้น ส่วน A และ B เป็นสารผลิตภัณฑ์ ในขณะที่ปฏิกิริยาที่ II
C และ D เป็นสารตั้งต้น ส่วน CD เป็นสารผลิตภัณฑ์
2. จากปฏิกิริยาที่ I พลังงานของ AB จะมากหรือน้อยกว่าพลังงานรวมของ A และ B
พลังงานของ AB มากกว่าพลังงานรวมของ A และ B
3. จากปฏิกิริยาที่ II พลังงานของ CD จะมากหรือน้อยกว่าพลังงานรวมของ C และ D
พลังงานของ CD มากกว่าพลังงานรวมของ C และ D
4. จากปฏิกิริยาเคมีข้างต้น ปฏิกิริยาใดเป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน และปฏิกิริยาเคมีใดเป็น
ปฏิกิริยาดูดพลังงาน
ปฏิกิริยา I III และ V เป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน ส่วน ปฏิกิริยา II และ IV เป็น
ปฏิกิริยาดูดพลังงาน
5. จากปฏิกิริยาที่ III IV และ V สรุปได้ว่าอย่างไร
สรุปได้ว่าปฏิกิริยาเคมีมีหลายขั้นตอน โดยสารที่เป็นผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาหนึ่งอาจเป็น
สารตั้งต้นของปฏิกิริยาต่อไป
ปฏิกิริยาที่ต้องใช้พลังงานเกิดขึ้นได้อย่างไรภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ปฏิกิริยาที่ต้องใช้พลังงานในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในลักษณะปฏิกิริยาควบคู่
กันระหว่างปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยาคายพลังงาน โดยพลังงานที่คายออกมาใน
ปฏิกิริยาคายพลังงานจะถูกนำ�มาใช้ในปฏิกิริยาดูดพลังงาน และพลังงานที่ใช้ในเซลล์
ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของ ATP ซึ่งเป็นสารพลังงานสูง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
116