2.4 ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายและเปรียบเทียบปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยาคายพลังงานที่เกิดขึ้นในเซลล์
ของสิ่งมีชีวิต
2. อธิบายความสำ�คัญของการเกิดปฏิกิริยาควบคู่กันระหว่างปฏิกิริยาดูดพลังงานและปฏิกิริยา
คายพลังงานในสิ่งมีชีวิต
3. อธิบายกลไกการทำ�งานของเอนไซม์ในการเร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิต และการยับยั้ง
การทำ�งานของเอนไซม์
4. ระบุปัจจัยที่มีผลต่อการทำ�งานของเอนไซม์ และอธิบายผลของปัจจัยนั้น ๆ ที่มีต่อ
ประสิทธิภาพในการทำ�งานของเอนไซม์
5. อธิบายความหมายและประเภทของเมแทบอลิซึม
แนวการจัดการเรียนรู้
ครูอาจนำ�เข้าสู่บทเรียนโดยใช้ตัวอย่างกิจกรรมในชีวิตประจำ�วัน เช่น การเดิน การออกกำ�ลังกาย
หรือแม้กระทั่งการคิด หรืออาจยกตัวอย่างกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตอื่นดังเช่นรูป 2.34 ในหนังสือเรียน
แล้วให้นักเรียนอภิปรายเพื่อนำ�เข้าสู่การเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ขณะกิจกรรมต่างๆ ข้างต้นกำ�ลัง
ดำ�เนินอยู่ โดยอาจใช้คำ�ถาม ดังนี้
ในขณะทำ�กิจกรรมต่าง ๆ จะเกิดอะไรขึ้นภายในเซลล์
นักเรียนอาจตอบคำ�ถามได้หลากหลายตามประสบการณ์ ซึ่งครูควรนำ�เข้าสู่ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
กับสารภายในเซลล์ดังที่เรียนรู้มาข้างต้น เช่น ขาที่ขยับขณะกำ�ลังเดินมาจากการทำ�งานของกล้ามเนื้อ
ที่มีการหดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำ�ให้เกิดการเคลื่อนที่ การหดตัวนี้ต้องการพลังงานซึ่งภายในเซลล์
กล้ามเนื้อจะต้องลำ�เลียงสารที่ต้องการซึ่งเก็บสะสมไว้บริเวณอื่นมาที่เซลล์กล้ามเนื้อเพื่อนำ�มาสลายให้
ได้พลังงานโดยผ่านปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน เป็นต้น ดังนั้นสารในเซลล์จะมีทั้งที่ถูกนำ�ไปสลายเพื่อ
ให้ได้พลังงานและถูกนำ�ไปเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารอื่น และยังต้องมีการลำ�เลียงสารไปยังบริเวณ
ต่าง ๆ ภายในเซลล์ รวมทั้งผ่านเข้าและออกจากเซลล์ด้วย การยกตัวอย่างนี้เพื่อเชื่อมโยงให้เห็น
ภาพรวมของปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตที่มีจำ�นวนมากมาย โดยครูอาจแสดงตัวอย่างภาพรวม
ของปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในสิ่งมีชีวิต หรือครูอาจแสดงภาพจากการค้นแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
ซึ่งอาจใช้คำ�ค้นว่า “biochemical pathway” “metabolic pathway” “วิถีเมแทบอลิซึม”
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทที่ 2 | เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ชีววิทยา เล่ม 1
112